พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ของบุคลากรบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

ผู้แต่ง

  • สราวุธ เบญจกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, ไตรสิกขา, สมรรถนะ, การพัฒนาบุคลากร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสมรรถนะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และ 3. นำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ในการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.972 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 382 คน โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 7,932 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 1. การพัฒนาบุคลากร 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 2. หลักไตรสิกขา 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. การพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทั้ง 4 ด้าน คือ การใช้ (Use) การเข้าใจ (Understand) การสร้าง (Create) และการเข้าถึง (Access) โดยประยุกต์กับหลักไตรสิกขา ทั้ง 3 ด้าน และมีการพัฒนาบุคลากร ทั้ง 3 ด้าน เป็นพื้นฐานในการส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ให้ประสบความสำเร็จ

References

ชญณา ศิริภิรมย์. (2565). การส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรของธุรกิจประกันวินาศภัย ตามแนวพระพุทธศาสนา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2565). แผนพัฒนาการจัดการความรู้ ทอท. (ปีงบประมาณ 2564 - 2568). กรุงเทพฯ: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน).

_____. (2565). สมรรถนะของ ทอท. กรุงเทพฯ: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน).

_____. (2567). ข้อมูล บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน). กรุงเทพฯ: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน).

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน. (2564). พุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). หัวใจพระพุทธศาสนา. พุทธจักร, 61(5), 7-15.

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2565). เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล Information Technology in Digital Era. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

เรืองยศ สารพุฒิเศรษฐ์. (2565). การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีนัส ธรรมสาโรรัชต์. (2566). การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

HREX.asia. (2023). Strengthen competency for personnel to promote effective human resource management in the organization. Bangkok: HREX.asia.

Nadler, L. & Wiggs, G. D. (1989). Managing Human Resource Development. San Francisco: Jossey-Bass.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row, 1973.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite

เบญจกุล ส. (2024). พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ของบุคลากรบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(6), 237–249. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/281349