พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้านรักษาความปลอดภัยของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
คำสำคัญ:
พุทธบูรณาการ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, บุคลากรด้านรักษาความปลอดภัยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัย ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัย ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และ 3. นำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัย ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากร คือ บุคลากรของบริษัท รักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยาน ไทย จำกัด (มหาชน) ทั้งหมด 8,421 คน โดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.977 และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัย ของบุคลากรบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัย 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ 3 ด้าน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 2. หลักอิทธิบาท 4 4 ด้าน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัยทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านคุณภาพของงาน (Quality) ด้านปริมาณงาน (Quantity) ด้านเวลา (Time) และด้านค่าใช้จ่าย (Cost) โดยประยุกต์กับหลักอิทธิบาท 4 ทั้ง 4 ด้าน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทั้ง 3 ด้าน เป็นพื้นฐานในการส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัย ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ให้ประสบความสำเร็จ
References
ชูชัย สมิธธิไกร. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2565). แผนพัฒนาการจัดการความรู้ ทอท. (ปีงบประมาณ 2564 - 2568). กรุงเทพฯ: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน).
______. (2565). แผนวิสาหกิจของ ทอท. (ปีงบประมาณ 2560 - 2564) ฉบับทบทวน. กรุงเทพฯ: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน).
______. (2565). รายงานประจำปี บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 2565. กรุงเทพฯ: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน).
พระครูสมุห์ธรรพ์ณธร ธมฺมทินฺโน. (2563) รูปแบบการส่งเสริมประสิทธิภาพภาวะผู้นำของเจ้าอาวาส เชิงพุทธบูรณาการ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มลธิดา อุบลรัตน์. (2565). หลักอิทธิบาท 4 : เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้มีความสุข. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(2), 151-161.
สุจิตตรา สวาทยานนท์. (2566). พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจขายปลีกขนาดเล็กในจังหวัดปทุมธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อรรถพล เสือคำรณ. (2566). พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมธุรกิจพลังงาน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Nadler, L. & Wiggs, G. D. (1989). Managing Human Resource Development. San Francisco: Jossey-Bass.
Peterson, E. & Plowman, E. (1953). Business Organization and Management. Illinois: Irwin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น