การพัฒนาศักยภาพการบริหารงานเชิงพุทธของผู้บริหารธุรกิจเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
ศักยภาพ, การบริหารธุรกิจเชื้อเพลิง, หลักอิทธิบาทธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารธุรกิจเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารธุรกิจเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3.เสนอการพัฒนาศักยภาพ
การบริหารงานเชิงพุทธของผู้บริหารธุรกิจเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิจัยแบบผสานวิธี เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารธุรกิจเชื้อเพลิงจำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน เชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 รูปหรือคน ได้แก่ ผู้บริหารธุรกิจเชื้อเพลิง นักวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ ผู้บริหารกรมพลังงาน และผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารธุรกิจเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า การบริหารจัดการ และหลักอิทธิบาทธรรม อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการบริหารงาน พบว่า หลักการบริหารจัดการ และหลักอิทธิบาทธรรม มีอิทธิพลร่วมกันต่อศักยภาพการบริหารงานของผู้บริหารธุรกิจเชื้อเพลิง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 3.การพัฒนาศักยภาพการบริหารงานเชิงพุทธของผู้บริหารธุรกิจเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คือ 1. การบริหารคนได้และใช้คนเป็น ควรส่งเสริมและพัฒนาคน 2. การบริหารการเงินและต้นทุนเก่ง จัดทำแผนงบประมาณ 3. การบริหาร
ความหลากหลายของธุรกิจได้ ควรสร้างทีมงาน 4. การสร้างความผูกพันกับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ควรตอบสนองความต้องการของลูกค้า 5. การบริหารการเปลี่ยนแปลงและความคล่องตัว สร้างความพร้อมที่จะปรับตัว และ 6. การเพิ่มทักษะพิเศษในการส่งเสริมการทำงาน เช่น ทักษะสื่อสาร ทักษะดิจิทัล
References
กรมธุรกิจพลังงาน. (2564) ข้อมูลผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7.10.11.12 แห่ง พ.ร.บ. การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543. พระนครศรีอยุธยา: กระทรวงพลังงาน.
กลุ่มยุทธศาสตร์ กองแผนงานธุรกิจพลังงาน. (2558). ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน.
โกสิทธิ์ เฟื่องสวัสดิ์. (2566). 6 คุณลักษณะผู้นำ ที่องค์กรต้องการหลังโควิด-19. สืบค้น 12 มกราคม 2566, จาก https://www.slingshot.co.th/blog/6leadership
จันทิราพร ศิรินนท์. (2562). การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(2), 31-37.
จิตตานันท์ ติกุล และคณะ. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
พระครูปลัดชาติชาย ญาณโสภโณ. (2563). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุของเทศบาลในจังหวัดลำพูน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุชัยพัชรมงคล (วิษณุ ตปสมฺปนฺโน). (2564). การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยหลักพุทธธรรม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติว่าด้วย เรื่อง การค้าและการส่งน้ำมันเชื้อเพลิง. (2543, 29 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 117 ตอนที่ 111 ก. หน้า 16.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมบัติ นามบุรี. (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพุทธบูรณาการของภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2565). รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย. พระนครศรีอยุธยา: กระทรวงพลังงาน.
อัมภาภรณ พีรวณิชกุล และคณะ (2565). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานีบริการน้ำมันเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิทัล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1809-1826.
อากาศ อาจสนาม. (2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเชิงพุทธบูรณาการของพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
SET. (2021). Classify oil business stocks Who is where? How far into the future? Retrieved January 12, 2021, from https://shorturl.asia/rsnNy
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Singapore: Times Printers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น