โครงการประสิทธิภาพกลไกการพัฒนาส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และครอบครัว ในพุทธคลินิกโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน บ้านมิ่งเมืองมูล ตำบลพิชัย จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พระครูสิริธรรมบัณฑิต (ภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี) มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อภิญญา สารสม มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • พัชรีญา ฟองจันตา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • บุษกร วัฒนบุตร มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • นิษรา พรสุริวงษ์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

สุขภาวะ, ผู้สูงอายุ, ภาวะพึ่งพิง, การมีส่วนร่วมของชุมชน, พุทธคลินิก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ให้ผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย จังหวัดลำปางให้ได้รับการดูแลระยะยาว ผ่านสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงและได้รับการบริการที่เหมาะสมในชุมชน โดยศาสนสถานที่เป็นพุทธคลินิก และ 2. เพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นในการสร้างแผนปฏิบัติการประจำปีในการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย จังหวัดลำปาง ให้ได้รับการดูแลระยะยาวด้วยการประชุมระดมความคิดเห็น ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเฉพาะ

ผลการวิจัยพบว่า การให้ผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย จังหวัดลำปาง ให้ได้รับการดูแลระยะยาว ผ่านสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึง และได้รับการบริการที่เหมาะสมในชุมชนโดยศาสนสถานที่เป็นพุทธคลินิก มีการสำรวจพื้นที่ในการสร้างสิ่งสนับสนุนการปฏิบัติการให้ผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ประกอบด้วย 11 ด้านในการปรับปรุงภูมิทัศน์ อาคารภายในวัดให้เป็นพุทธคลินิก ได้มีการประสานงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานเครือข่ายได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกันในการสร้างแนวทางการปฏิบัติให้ผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการดูแลทั้งสุขภาวะทางกายสุขภาวะทางใจ และการให้กำลังใจด้วยการเยี่ยมบ้าน และมีการกำหนดนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นในการสร้างแผนปฏิบัติการประจำปีในการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างยั่งยืน

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้น 23 ตุลาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์ และคณะ. (2556). คู่มือการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก โครงการการจัดการความรู้อาคารสถานที่ที่เป็นมิตรสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ธฤษณุ ฉัตรกมลวรกิจ. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทางกายภาพสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลหนองตองพัฒนาในเขตพื้นที่หมู่บ้านป่าเป้า ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหาโยธิน โยธิโก. (2560). บทบาทพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 25-36.

พระสมุห์สุรินทร์ รตนโชโต และพระศักดิ์จรินทร์ ฐิตสํวโร. (2566). บทบาทวัดกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสังคมไทย ตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(5), 171-184.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). การเผชิญหน้าสังคมผู้สูงอายุโจทย์ท้าทายภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

อรวรรณ พุ่มพวง. (2551). การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชมชน). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร. (2560). ผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สืบค้น 23 ตุลาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/WJgQc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01