บทบาทของวัดในการบริหารจัดการฌาปนสถานและงานศพในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมาหจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส) มหาวิทยาลัยมาหจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูวิโรจน์กาญจนเขต (นัทกฤต ทีปงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุภัทรชัย สีสะใบ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทบาท, การบริหารจัดการ, ฌาปนสถาน, งานศพ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการมุ่งศึกษา บทบาทของวัดในการบริหารจัดการฌาปนสถานและงานศพในจังหวัดนนทบุรี โดยศึกษาจากเอกสาร ตำรา หนังสือ วิทยานิพนธ์ อินเทอร์เน็ต และจากการวิเคราะห์สังเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า 1. วัดโดยคณะสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและช่วยเหลือประชาชนจำเป็นจะต้องปรับตัวในการที่จะบริหารจัดการฌาปนสถานและงานศพให้เกิดความเรียบร้อย ตามหลักการบริหาร 4M ประกอบด้วยการที่มีคนที่จะพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ มีงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรที่มีภายในวัด ให้เกิดคุณค่า เพื่อบริหารความพึงพอใจของประชาชนที่มาใช้บริการ เพราะวัดถือว่าเป็นสถานที่ที่เป็นที่พึ่งทางจิตใจของประชาชน ส่งผลจะทำให้ปัจจัยส่วนอื่นเกิดขึ้นอย่างเช่น การเดินทาง การมีที่จอดรถ มีศาลาบำเพ็ญกุศล มีเป็นเผาศพ 2. การบริหารจัดการฌาปนกิจสถานและจัดงานศพในจังหวัดนนทบุรีถือว่าอยู่ในด้านสาธารณสงเคราะห์และสาธารณูปการไปด้วยเพราะนอกจากจะเป็นการสงเคราะห์ประชาชนในเรื่องของการจัดงานในวัดแล้วยังเป็นการจัดบริเวณสถานที่ต้อนรับและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอยู่ในด้านสาธารณูปการไปด้วย 3. บทบาทของสัปเหร่อที่มีต่อพิธีศพจึงเป็นพฤติกรรมการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับตำแหน่งทางสังคมหรือกิจกรรม และภาระหน้าที่ที่มีความเกี่ยวข้อง

References

ไทยพับลิก้า. (2560). ธุรกิจงานศพ : จัดงาน 7 วัดดัง กทม. โปรดนับเงินในกระเป๋าก่อน (2). สืบค้น 26 มกราคม 2567, จาก https://thaipublica.org/2011/09/funerals2/

แปลก สนธิรักษ์. (2531). พิธีกรรมและประเพณี. กรุงเทพฯ: เจริญจิต.

พระขวัญเมือง สุหะ. (2546). พุทธศาสนากับลัทธิบริโภคนิยมศึกษาเปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์แนวพุทธกับเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระครูสมุห์ประสงค์ ฐิตปุญฺโญ. (2541). สังเค็ด ราชวัติ ดอกไม้ธูปเทียน และประเพณีทำศพ. กรุงเทพฯ: วิริยพัฒนา.

พวงผกา ประเสริฐศิลป์. (2542). ประเพณีไทยกับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสวัฒนธรรมโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์. (2557). ฉลาดทำศพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุวดี ช่วยกิจ. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทางการตลาดของฟิลลิป คอตเลอร์ กับลัทธิ บริโภคนิยม (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลักขณา ศกุนะสิงห์. (2556). ความเชื่อและประเพณี: เกิด แต่งงาน ตาย. กรุงเทพฯ: พราวเพรส.

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง. (2567). สุคติสถาน. สืบค้น 26 มกราคม 2567, จาก https://golink.icu/a43WxhV

เสถียร โกเศศ. (2531). การตาย. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite

(กำพล คุณงฺกโร) พ., (ศักดา โอภาโส) พ., (นัทกฤต ทีปงฺกโร) พ., & สีสะใบ ส. (2024). บทบาทของวัดในการบริหารจัดการฌาปนสถานและงานศพในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(2), 484–497. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/274975