การวิเคราะห์ต้นทุนและวางแผนกำไรผลิตภัณฑ์จากเตยปาหนัน ของชุมชนลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ต้นทุน, กำไร, ผลิตภัณฑ์จากเตยปาหนันบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การกำหนดราคา และการวางแผนกำไรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานเตยปาหนันบ้านหัวนอนวัด อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เป็นการผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์เชิงลึกและประชุมกลุ่มย่อย ประชากรและผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนจักสานเตยปาหนันบ้านหัวนอนวัด อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 22 ราย การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์แบบพรรณณาและเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบด้วย วิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิต กำหนดราคาขาย การวิเคราะห์อัตราส่วนกำไรเบื้องต้น และจุดคุ้มทุน
ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มาจากเตยปาหนัน จำนวน 10 รายการ พบว่า ผลิตภัณฑ์แบบที่ 7 (ขนาด 45 x 35 x 6.5 ซม.) มีต้นทุนการผลิตสูงที่สุด เท่ากับ 337.90 บาท รองลงมาคือแบบที่ 1 (ขนาด 31 x 30 ซม.) เท่ากับ 333.48 บาท และแบบที่ 6 (ขนาด 43 x 49 ซม.) เท่ากับ 332 บาท และผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือแบบที่ 2 (ขนาด 17 x 25 x 9 ซม.) เท่ากับ 201.62 บาท อัตราส่วนกำไรเบื้องต้นเมื่อตั้งราคาขายโดยใช้ต้นทุนเป็นฐาน พบว่า ผลิตภัณฑ์แบบที่ 3 มีอัตราส่วนกำไรเบื้องต้นสูงที่สุด เท่ากับ ร้อยละ 48.54 รองลงมาเป็นแบบที่ 4 ร้อยละ 48.33 และแบบที่ 6 ร้อยละ 47.43 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ให้อัตราส่วนกำไรเบื้องต้นน้อยที่สุดคือแบบที่ 8 ร้อยละ 36.21 และผลการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน พบว่า ผลิตภัณฑ์แบบที่ 7 มีจุดคุ้มทุนน้อยที่สุดเท่ากับ 15.88 หน่วยต่อเดือน รองลงมาเป็นแบบที่ 1 จุดคุ้มทุน เท่ากับ 16.45 หน่วยต่อเดือน และแบบที่ 9 จุดคุ้มทุนเท่ากับ 16.73 หน่วยต่อเดือน ผลิตภัณฑ์ที่มีจุดคุ้มทุนสูงที่สุด คือ แบบที่ 8 เท่ากับ 26.09 หน่วยต่อเดือน
References
กิ่งกนก รัตนมณีและคณะ. (2560). การศึกษาการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดตรัง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(1), 75-84.
ดวงมณี โกมารทัต. (2559). การบัญชีต้นทุน (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพวรรณ รัตนพรหม และคณะ. (2565). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์กล่องซิปรอบจากกระจูดรายา : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์กระจูด บ้านพรุกาบแดง 110/1 หมู่ที่ 7 ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อการกำหนดราคาขายที่เหมาะสม. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ผกามาศ บุตรสาล. (2565). การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และอัตราส่วนทางการเงินจากการทอผ้าไหมมัดหมี่ของชุมชนบ้านมาบสมอ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 16(3), 111-123.
พรรณนิณิภา รอดวรรณะ. (2560). การบัญชีต้นทุน : หลักและกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2563). การบริหารต้นทุนการผลิตและการวางแผนกำไรผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางนาร้า อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 9(1), 47-56.
ระริน เครือวรพันธุ์. (2560). การรายงานและวิเคราะห์งบการเงิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดี้ยนสโตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2562). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2563). การบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แมคกรอฮิล (ประเทศไทย).
อัจฉรา จันทร์ฉาย และศิพัตม์ ไตรอุโฆษ. (2562). การจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนธุรกิจใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น