ภาพลักษณ์ตราสินค้าและคุณค่าของตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • สุธิดา นามเมืองปัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • พรทิพย์ รอดพ้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์และคุณค่าของตราสินค้า, การตัดสินใจซื้อ, อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าของตราสินค้า และการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย 2. ศึกษาภาพลักษณ์ตราสินค้าและคุณค่าของตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรเจนเนอเรชั่นวาย อายุระหว่าง 26-43 ปี จำนวน 333 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า 1. ภาพลักษณ์ตราสินค้าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 คุณค่าของตราสินค้าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และการตัดสินใจซื้อโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 2. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้า ด้านคุณสมบัติ ด้านผู้ใช้ และคุณค่าของตราสินค้า ด้านการเชื่อมโยงกับตราสินค้า ด้านความภักดีต่อตราสินค้า และด้านทรัพย์สินประเภทอื่น ๆ ของตราสินค้าส่งผลทางบวกต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05

References

ณัฐฌา เสรีวัฒนา. (2563). ภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณภาพการบริการ และคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความภักดีและการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์ร้านไทย-เดนมาร์ค มิลค์แลนด์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดลญา แก้วทับทิม. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบการวิจัย : แนวทางการปฏิบัติสู่ความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2564). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (Consumer Buying Process). สืบค้น 7 ตุลาคม 2564, จาก dhttps://www.popticles.com

พิมพ์ชนก กุลจรัสธนา และชุติมาวดี ทองจีน. (2561). การส่งเสริมการตลาดภาพลักษณ์ตราสินค้า และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วรรณวิไล โพธิ์ชัย. (2562). คุณค่าตราสินค้าและปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพของ กลุ่ม Gen Y ในกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 9(3), 87-95.

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2565-2567 อุตสาหกรรมอาหารพร้อมทาน. สืบค้น 28 กันยายน 2565, จาก https://shorturl.asia/Hk9U4

วศิน อัมโรสถ. (2564). ปัจจัยคุณค่าของตราสินค้า ความไว้วางใจ และภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมของคนกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง. (2565). จำนวนประชากรไทยแยกตามเพศจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2565. สืบค้น 1 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/KA7NX

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity: Capitalizing on the Value of a Brand. New York: The Free Press.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Dede, S. et al. (2021). The Influence of Brand Image and Atmosphere Store on Purchase Decision for Samsung Brand Smartphone with Buying Intervention as Intervening Variables. International Journal of Social Science and Business, 5(2). 263-270.

Fill goods. (2021). Delving into the behavior of 4 generations of consumers for entrepreneursPlan marketing to create sales that exceed target. Retrieved September 21, 2023, from https://shorturl.asia/8zLWn

Keller, K. L. (2003). Strategic brand management building, measuring and managing brand equity. New Jersey: Prentice Hall.

Kohli, C. & Leuthesser, L. (2011). Brand Equity Capitalizing on Intellectual Capital. Ivey Business Journal, 65(4), 74-81.

Kotler, P. (1997). Principles of Marketing. New Jersey: Prentice-Hall. Name. New York: Free.

_____. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite

นามเมืองปัก ส., & รอดพ้น พ. (2024). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและคุณค่าของตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(6), 77–89. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/271786