ความคาดหวังของประชาชนต่อการให้บริการของโรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคาดหวังของประชาชนต่อการให้บริการของโรงพยาบาลราชบุรี 2. ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของโรงพยาบาลราชบุรี 3. เปรียบเทียบการให้บริการของโรงพยาบาลราชบุรีที่ประชาชนได้รับกับการให้บริการที่ประชาชนคาดหวัง 4. แนวทางการให้บริการตามที่ประชาชนคาดหวัง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนชาวไทยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มาใช้บริการโรงพยาบาลราชบุรี จำนวน 399 คน โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความพึงพอใจและความคาดหวังต่อการให้บริการของโรงพยาบาลราชบุรี ด้วยสถิติ Paired Sample T-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของโรงพยาบาลราชบุรี โดยรวมอยู่ในระดับคาดหวังมากที่สุดทุกด้าน 2. ระดับความ พึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของโรงพยาบาลราชบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. การเปรียบเทียบการให้บริการของโรงพยาบาลราชบุรีที่ประชาชนได้รับกับการให้บริการที่ประชาชนคาดหวัง พบว่า โดยรวมค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจและความคาดหวังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 4. แนวทางการให้บริการตามที่ประชาชนคาดหวัง คือ จัดระบบบริการเพื่อลดระยะเวลาการคอยรับบริการ เพิ่มจุดบริการให้สะดวกรวดเร็วหานวัตกรรมมาส่งเสริมการให้บริการและยังคงมาตรฐานการรักษาที่ดี
References
คู่ขวัญ มาลีวงษ์ และคณะ. (2566). ความคาดหวัง ความพึงพอใจ และความผูกพัน ของผู้รับบริการต่อการให้บริการของศูนย์ความเป็นเลิศทางการพยาบาลบาดแผลและออสโตมี คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล, (25)1, 39-57.
งานสารสนเทศ โรงพยาบาลราชบุรี. (2563). ข้อมูลผู้ใช้บริการโรงพยาบาลราชบุรี ประจำปีงบประมาณ 2563. สืบค้น 7 ธันวาคม 2563, จาก https://info.rajburi.org/ rbinfo/web/site/index
ชำนาญ ชูรัตน์. (2561). ประสิทธิผลการให้บริการของโรงพยาบาลพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 6(2), 16-24.
ไพรัช วงศ์จุมปู และทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์. (2565). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพะเยา. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, (2)1, 17-27.
วรัญญา เขยตุ้ย และคณะ. (2561). ความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของผู้มารับบริการ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 5(1), 101-119.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). กลยุทธ์การตลาด การบริหารการตลาดและกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564). แผนปฏิบัติราชการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระยะ 5 ปี พ.ศ.2561 – 2565 (ฉบับทบทวน พ.ศ.2565). สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2564, จาก nhso.go.th/view/1/ E-BOOK/TH-TH
สุนันทา ยอดเณร. (2551). การประเมินคุณภาพการบริการจากความแตกต่างระหว่างความคาดหวังกับการรับรู้ของผู้รับบริการงานเภสัชกรรมในสถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการองคกรเภสัชกรรม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัญชลี เพชรรอบ. (2561). คุณภาพการบริการของแผนกผู้ป่วยนอก ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 1(1), 1–11.
Chaudhuri, A. & Holbrook, M. B. (2001). The chain of effects from brand trust and brand affect to brand performance the role of brand loyalty. Journal of Marketing, 65(2), 81–93.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Haper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น