พรรคประชาธิปัตย์อยู่ตรงไหนในภูมิทัศน์ใหม่ทางการเมือง?

ผู้แต่ง

  • พรธิดา เผื่อนทิม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง, การเลือกตั้ง, จุดยืนทางการเมือง, นโยบายหาเสียง, พรรคการเมืองไทย, พรรคประชาธิปัตย์

บทคัดย่อ

บทความนี้วิเคราะห์การเมืองเรื่องการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ โดยวิเคราะห์จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1. จุดยืนด้านนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง และ 2. จุดยืนด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ท่ามกลางภูมิทัศน์ใหม่ทางการเมืองอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทั้งความคิดทางการเมืองของประชาชนและการแข่งขันในตลาดการเมือง ผลการศึกษาของบทความนี้สะท้อนปัญหาของพรรคประชาธิปัตย์ในสนามการเลือกตั้ง ทั้งด้านนโยบายรณรงค์หาเสียงที่ในภาพรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ทิศทางนโยบายจากส่วนกลางของพรรคจะเน้นนำเสนอนโยบายดั้งเดิมที่เคยมีมาแล้ว โดยนโยบายการเกษตรเป็นนโยบายหลักที่พรรคประชาธิปัตย์เลือกนำเสนอ ส่วนพรรคการเมืองอื่นมีการนำเสนอประเด็นนโยบายตอบโจทย์กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่หลากหลายมากกว่า และขณะที่สังคมให้ความสำคัญกับหลักการประชาธิปไตยและรังเกียจการแทรกแซงทางการเมืองโดยทหาร แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่กล้าโอบรับหลักการดังกล่าวอย่างหนักแน่นเพื่อตอบโจทย์คนกลุ่มใหม่ เมื่อขาดความชัดเจนของวิสัยทัศน์ในทุกด้าน ทำให้สายโซ่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เลือกตั้งกับพรรคประชาธิปัตย์อ่อนแอลง กลายเป็นพรรคเฉพาะภูมิภาค ไม่สามารถเป็นตัวแทนประชาชนในระดับประเทศได้อย่างในอดีต

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2562). แถลงจุดยืน ปชป. ไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/829276

คมชัดลึก. (2562). อภิสิทธิ์ ประกาศจุดยืน ประชาชนเป็นใหญ่ ประชาธิปไตยสุจริต. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.at/biMS4

ไทยพีบีเอส. (2566). ประชาธิปัตย์ มั่นใจ ในสนามเลือกตั้ง เปิดอภิโปรเจค 1 ล้านล้านบาท มุมการเมือง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.at/zLPU8

_____. (2566). เลือกตั้ง2566 : จุรินทร์ ประกาศรับผิดชอบ ลาออกหัวหน้า ปชป. สืบค้น 9 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.at/gTV58

บีบีซีไทย. (2564). อภิปรายไม่ไว้วางใจ : เพื่อไทยเปิดผังคนใกล้ชิด รมต. ทำสัญญาลวง ทุจริตซื้อถุงมือยาง ด้านจุรินทร์โต้ไม่เคยสมคบ-แอบสั่งการ. สืบค้น 9 สิงหาคม 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-56113438

ประชาไท. (2562). สุเทพโยนเป็นฝ่ายทักษิณ หลังอภิสิทธิ์เปิดสูตร ปชป.ไม่หนุนประยุทธ์ พร้อมร่วมรบ.กับพลังประชารัฐ. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/y3Y1A

ผู้จัดการออนไลน์. (2562). อภิสิทธิ์ ประกาศลาออกจากหัวหน้า ปชป. รับผิดชอบพ่ายเลือกตั้งยับ. สืบค้น 9 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.at/knvE4

พรรคประชาธิปัตย์. (2562). ชวนยันอุดมการณ์ไม่เคยเปลี่ยน. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.at/mnoS2

_____. (2566). MV เพลง เช้าวันใหม่ พรรคประชาธิปัตย์. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.youtube.com/watch?v=QhrY80edz7Q

พีพีทีวี. (2562). ดีเบตเลือกตั้ง 62 : นโยบายเด่นพรรคประชาธิปัตย์ ผ่าสนามเลือกตั้ง 62 ดีเบต. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2566, จาก https://youtu.be/JcbtV9ChnKw

มติชนสุดสัปดาห์. (2562). วิเคราะห์-อ่านจังหวะ อภิสิทธิ์ พระเอกลิเก หนีตาย ประกาศไม่เอา บิ๊กตู่ แต่พร้อมจับมือ พปชร. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/37z1K

มติชนออนไลน์. (2562). ปชป.เช็คอินอนุสาวรีย์ปชต. ปล่อยคาราวานชุดใหญ่ลุยหาเสียง

ขอพาปท.พ้นวงจรอุบาทว์. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.at/nrMNX

_____. (2563). บก.ลายจุดฟันธง ถ้า ปชป.อยู่ร่วมรัฐบาลจนล้มลง เลือกตั้งครั้งหน้าใกล้สูญพันธุ์แน่นอน. สืบค้น 9 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.at/lCDE0

วอยซ์ออนไลน์. (2564). อันวาร์ สาและ ถือธงไล่ ประยุทธ์ เขย่า ปชป.ถึงเวลาถอนตัวทิ้งรัฐบาล. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.at/cmtFR

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2555). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1997).

_____. (2563). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.

_____. (2566). รายงานผลการเลือกตั้ง ส.ส. ปี พ.ศ.2566 อย่างเป็นทางการ. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.at/oyLW9

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. (2566). รายการ 101 POSTSCRIPT Ep.73 ชัยชนะของก้าวไกล ประเทศไทยเปลี่ยน?. สืบค้น 18 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.at/BGHKL

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. (2562). จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ หรือไม่?. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.at/lpsxY

Campbell, A. et al. (1976). The American Voter. London: The University of Chicago.

Google. (2023). Explore interest levels on the Google Trends website. Retrieved August 10, 2022, from https://shorturl.at/JUY34

Jacobson, G. C. (2015). How Do Campaigns Matter?. Annual Review of Political Science, 18(1), 31-47.

Key, V. O. (1966). The Responsible Electorate. New York: Vintage.

Utarasint, D. (2019). The Deep South: Changing Times?. Contemporary Southeast Asia, 41(2), 207-215.

Weinschenk, A. C. (2010). Revisiting the Political Theory of Party Identification. Polit Behav. 32(1), 473-494.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite

เผื่อนทิม พ. (2024). พรรคประชาธิปัตย์อยู่ตรงไหนในภูมิทัศน์ใหม่ทางการเมือง?. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(6), 425–438. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/271102