โครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม: โอกาสและความท้าทาย ของไทยในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ฉัตรเกษม ดาศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

โครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม, การคุ้มครองทางสังคมไทยในศตวรรษที่ 21, ความมั่นคงของมนุษย์, โอกาสและความท้าทายของไทยในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทบทวนวรรณกรรมและองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม และศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทย รวมไปถึงการวิเคราะห์โอกาสและความท้าทายของโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องเผชิญโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม (Social safety nets) เป็นมาตรฐานขั้นพื้นฐานของรัฐบาลในการปกป้องและรองรับการดำรงชีวิตให้กับกลุ่มผู้เปราะบางและด้อยโอกาสทางสังคมให้สามารถอยู่รอดได้ โดยปัจจุบันประเทศไทยมี 4 ประเภทคือ หลักการประกัน การคุ้มครองแรงงาน การสงเคราะห์และบริการทางสังคมอื่น ๆ โอกาสและความท้าทายของภาครัฐในการพัฒนาโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ 1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมสูงวัย ทำให้รัฐมีภาระทางการเงิน
เพิ่มมากขึ้น ภาครัฐจึงต้องกำหนดแนวทางการดูแลผู้สูงอายุให้เหมาะสม สำหรับอนาคตระยะยาว 2. การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นดิจิทัล ภาครัฐจะต้องพัฒนาไปสู่รัฐบาลอัจฉริยะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการบริหารงาน รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
ในการจัดหารายได้ที่มีประสิทธิผลมากขึ้น เช่น รายได้จากภาษีในกลุ่มเศรษฐกิจดิจิทัล และ 3. การกระจายอำนาจและการปกครองภาครัฐแนวใหม่ (NPG) ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและเสริมพลังให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับงานพัฒนา สังคม. กรุงเทพฯ: ทูเกเตอร์ เอ็ดดูเทนเมนท์.

_____. (2559). แผนพัฒนางานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2545-2549). สืบค้น 15 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/3qpog

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). รายงานการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2555-2562. สืบค้น 30 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/274

_____. (2565.) สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้น 30 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2387

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). สรุปข้อมูล อปท.ทั่วประเทศ. สืบค้น 12 มกราคม 2566, จาก http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp

ชญาพัฒน์ เลิศอำนาจกิจเสรี. (2022). เศรษฐกิจดิจิทัล: การเกิดและพัฒนาการ. วารสารสันติ ศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 2273-2283.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และคณะ. (2542). การสำรวจความรู้เชิงแนวคิด ทฤษฎี บทบาท และความสำคัญต่อสังคมของโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net) (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

วนัส ปิยกุลชัยเดช. (2561). สิทธิมนุษยชน : ปัญหาในมโนทัศน์และการนำเข้ามาในประเทศไทย. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 31(2), 6-24.

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2565). SDG Vocab. สืบค้น 14 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/cagdD

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ. (2549). รายงานการประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางทางสังคม: การประเมินความคุ้มครองทางสังคมในระดับองค์การและสถาบันของประเทศไทย. กรุงเพทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สมพร โกมารทัต และคณะ. (2561). วิเคราะห์การคุ้มครองทางสังคมของไทยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. สุทธิปริทัศน์, 32(102), 211-222.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). คำศัพท์ กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2566, จาก http://nscr.nesdc.go.th/pelcd-glossary/

Arkorful, V. E. et al. (2021). Decentralization and Citizens’ Participation in Local Governance: Does Trust and Transparency Matter?–An Empirical Study. Forum for development studies, 48(2), 199-223.

Bretton Woods Project. (2018). What are the Bretton Woods Institutions?. Retrieved July 15, 2023, from https://shorturl.asia/GB01R

Clausen, M. L. (2020). Decentralization as a strategy of regime maintenance: The case of Yemen. Public Administration and Development, 40(2), 119–128.

GPPAC. (2023). Human security. Retrieved July 14, 2023, from https://shorturl.asia/eNBvO

International Labor Organization. (2023). CHAPTER 5 Social protection. Retrieved July 15, 2023, from https://shorturl.asia/CSjMd

OECD. (2019). Social protection. Retrieved July 15, 2023, from https://shorturl.asia/urX2B

Paitoonpong, S. et al. (2008). The Meaning of Social Safety Nets. Journal of Asian Economics, 19(5-6), 467-473.

Runya X. et al. (2015). The Third Wave of Public Administration: The New Public Governance. Canadian Social Science, 11(7), 11-21.

The Stanford Encyclopedia of Philosophy. (2021). Human Right. Retrieved July 15, 2023, from https://plato.stanford.edu/entries/rights-human/

UNICEF. (2015). What are human right?. Retrieved July 14, 2023, from https://www.unicef.org/child-rights-convention/what-are-human-rights

United nation. (2023). What Is Human Security. Retrieved July 14, 2023, from https://www.un.org/humansecurity/what-is-human-security/

_____. (2023). Social Safety Nets. Retrieved July 14, 2023, from https://shorturl.asia/WXfTj

World bank. (2019). Safety Nets. Retrieved July 14, 2023, from https://shorturl.asia/etMDx

WU, X. et al. (2017). Autonomy and Performance: Decentralization Reforms in Zhejiang Province, China. Public Administration and Development, 37(1), 94-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite

ดาศรี ฉ. (2024). โครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม: โอกาสและความท้าทาย ของไทยในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(6), 411–424. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/270734