ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมธุรกิจการขนส่งสิ่งของของเอกชน

ผู้แต่ง

  • วรุตม์ จันทร์ทอง มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • รัฐชฎา ฤาแรง‬ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ปัญหาทางกฎหมาย, การควบคุมธุรกิจการขนส่ง, สิ่งของของเอกชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมาย 2. ศึกษาปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมาย 3. ศึกษาวิเคราะห์กฎหมายในการควบคุมธุรกิจการขนส่งสิ่งของของเอกชน 4. แนะมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมธุรกิจการขนส่งสิ่งของของเอกชนของต่างประเทศที่มีความเหมาะสม มาปรับใช้กับกฎหมายไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของไทยและของต่างประเทศมีการจัดทำสนทนากลุ่ม มีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 คน คือ พนักงานบริษัทขนส่งสิ่งของของเอกชน ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากบริษัทขนส่งสิ่งของของเอกชน นักวิชาการด้านกฎหมาย และเจ้าพนักงานกรมการขนส่ง

ผลการวิจัยพบว่า การจดทะเบียนรถยนต์ที่ใช้รับจ้างขนส่งสินค้าของกิจการขนส่งสิ่งของของเอกชน มีปัญหาว่าพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พุทธศักราช 2522 ไม่อนุญาตให้นำรถยนต์ขนาดเล็กมาทำการขนส่งสิ่งของ ดังนั้นการดำเนินกิจการขนส่งของบริษัทเอกชนในปัจจุบันเป็นการใช้รถผิดประเภท จึงควรที่จะเพิ่มลักษณะรถยนต์ที่อนุญาตให้ใช้รับจ้างขนส่งจากเดิมกำหนดไว้เพียง 9 ประเภท โดยอนุญาตให้ผู้ประกอบสามารถนำรถกระบะมาจดทะเบียนเป็นรถรับจ้างขนส่งสินค้าได้ การกำหนดน้ำหนักและความเร็วของรถตามพระราชบัญญัติทางหลวง พุทธศักราช 2535 ไม่ยืดหยุ่นต่อเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ที่มีศักยภาพในการขนส่งมากกว่าเดิม จึงควรแก้ไขการกำหนดความเร็วของรถที่มาใช้บนทางหลวง ให้ทันสมัยสอดคล้องกับความก้าวหน้าของวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยียานยนต์ และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากขึ้น

References

กล้า สมุทวณิช. (2562). ช่องว่างทางกฎหมาย ที่หลุดออกมาเมื่อพนักงานขนส่งเอกชนเปิดกล่อง Sextoy. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2564, จาก https://shorturl.asia/I5PWO

วิลาสินี สิทธิโสภณ. (2560). กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานกฎหมาย 3 สำนักกฎหมาย.

วิษณุ เครืองาม. (2549). คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยซื้อขายแลกเปลี่ยนให้ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.

ศนันทกรณ์ โสตถิพันธุ์. (2555). คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

สถิต เล็งไธสง. (2548). หลักกฎหมายแพง่ตามแนวคิดอาจารย์สถิต เล็งไธสง. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.

อุไรรัตน์ จันทรศิริ. (2562). กฎระเบียบไทยตามไม่ทัน express delivery เติบโต. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2564, จาก https://shorturl.asia/eAnz6

Bus & Truck. (2022). 5 benefits of modern automotive technology. Retrieved June 20, 2022, from https://shorturl.asia/9wB4N

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite

จันทร์ทอง ว., & ฤาแรง‬ ร. (2024). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมธุรกิจการขนส่งสิ่งของของเอกชน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(6), 65–76. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/270594