การจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุวิทย์ นำภาว์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ภัคพงศ์ พจนารถ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs), การจัดการสิ่งแวดล้อม, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยความยั่งยืนขององค์กรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยจำแนกเป็น 8 กลุ่มอุตสาหกรรม สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 148 บริษัทในช่วงปี พ.ศ. 2561-2563 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม 16 หัวข้อหลักและ 113 ประเด็นย่อย

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีระดับคะแนนความสำคัญเฉลี่ยสูงสุดในการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรม ทรัพยากร อสังหาริมทรัพย์ เกษตรและอาหาร การเงิน บริการ เทคโนโลยี และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ตามลำดับ โดยปัจจัยที่มีความสำคัญสูงสุด คือ ปัจจัยความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการสิ่งแวดล้อม และค่านิยมและบรรทัดฐาน ปัจจัยที่มีความสำคัญต่ำสุด ได้แก่ ปัจจัยปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่อซัพพลายเออร์ บัญชีการบริหารสิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรมสีเขียว ส่วนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ เป้าหมายที่ 8 เป้าหมายที่ 13 และเป้าหมายที่ 3 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 3.95 และ 3.37 ตามลำดับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีคะแนนความสำคัญต่ำสุด ได้แก่ เป้าหมายที่ 2  เป้าหมายที่ 14 และเป้าหมายที่ 1 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.50 1.51 และ 2.05 ตามลำดับ ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลหรือแนวทางการดำเนินงานขององค์กรสู่ความยั่งยืน ผู้บริหารองค์กรสามารถนำไปใช้ในการกำหนดเป้าหมาย กิจกรรม และพัฒนาธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต

References

Choi, J. S. (2000). An investigation of the initial voluntary environmental disclosures made in Korean semi-annual financial reports. Pacific Accounting Review, 11(1), 73-102.

Intaprasert, P. (2023). SDG Index 2023 Global Situation-ASEAN-Thailand. Retrieved March 20, 2022, from https://shorturl.asia/5P3NF

Kitkasemsin, V. et al. (2022). The Environmental Management's Competency Level of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand. Journal of Business, Economics and Communication, 17(4), 105-122.

Kokubu, K. et al. (2019). Comprehensive environmental management control system and stakeholder influences: evidence from Thailand. In Kokubu, K. and Nagasaka, Y. (Eds.), Sustainability management and business strategy in Asia. (pp.131-148). Singapore: World Scientific Publishing.

Machmuddah, Z. et al. (2020). Corporate Social Responsibility, Profitability and Firm Value: Evidence from Indonesia. Journal of Asian Finance, Economics and Business, 7(9), 631-638.

SDG Move. (2023). Introduction to SDGs Faculty of Economics. Retrieved March 20, 2022, from https://www.sdgmove.com/intro-to-sdgs/

Stock Exchange of Thailand. (2021). Overview of the Stock Exchange of Thailand. Retrieved June 20, 2022, from https://www.set.or.th/th/home

Suttipun, M. (2012). Environmental disclosures in corporate annual reports: A study of top 50 companies listed in the stock exchange of Thailand. Chulalongkorn Business Review, 34(2), 47-67.

United Nations. (2016). Act for the Sustainable Development Goals. Retrieved May 20, 2022, from https://shorturl.asia/GcO0a

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite

นำภาว์ ส., & พจนารถ ภ. (2024). การจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(5), 274–289. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/270484