การสร้างธรรมนูญความสุขชุมชนวิถีพุทธกับรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล

ผู้แต่ง

  • รัตติยา เหนืออำนาจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สยาม ดำปรีดา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ภาราดร แก้วบุตรดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ธรรมนูญความสุขชุมชน, สังคมสูงวัย, วิถีพุทธ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างธรรมนูญความสุขชุมชนวิถีพุทธกับรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การสังเกต ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนกิจกรรม และ 4) สะท้อนผลการขับเคลื่อนกิจกรรม พื้นที่วิจัย คือ ตำบลหนองนมวัว จังหวัดนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกภาคสนาม แบบฟอร์อมการบันทึกการจัดประชุมประชาคมระดับตำบล ชุดกิจกรรมปฏิบัติการพัฒนาชุมชนและพัฒนานักจัดการชุมชนด้านธรรมนูญความสุขชุมชน และแบบจำลองการประเมิน CIPPI Model

ผลการวิจัย พบว่า ธรรมนูญความสุขชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล ประกอบด้วย 8 หมวด 31 ข้อตกลง ประกอบด้วย หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยข้อตกลง จำนวน 8 ข้อ หมวดที่ 2 ว่าด้วยปรัชญาและเป้าหมายร่วมของตำบลหนองนมวัว ประกอบด้วยข้อตกลง จำนวน 2 ข้อ หมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องการออม ประกอบด้วยข้อตกลง จำนวน 4 ข้อ หมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องสังคม ประกอบด้วยข้อตกลง จำนวน 4 ข้อ หมวดที่ 5 ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 ข้อ หมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่องสุขภาพ ประกอบด้วยข้อตกลง จำนวน 4 ข้อ หมวดที่ 7 ว่าด้วยเรื่องระบบและกลไกการขับเคลื่อน ประกอบด้วยข้อตกลง จำนวน 4 ข้อ และหมวดที่ 8 บทเฉพาะกาล ประกอบด้วยข้อตกลง จำนวน 1 ข้อ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. สืบค้น 30 มีนาคม 2564, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275

______. (2564). สถิติผู้สูงอายุผู้ใช้บริการภายใน ศพส. กรมกิจการผู้สูงอายุ. สืบค้น 27 ตุลาคม 2564, จาก https://www.dop.go.th/th/know/1

กรมสุขภาพจิต. (2558). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว และกฤษณ์ ขุนลึก. (2558). กระบวนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ในประเด็นการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายในชุมชนตำบลโคกกว้าง อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระครูปัญญาสุธรรมนิเทศ (ธนะพัฒน์ รุดบุญ) และคณะ. (2563). การสร้างธรรมนูญศิลปวัฒนธรรมเพื่อสุขภาวะของชุมชนด้วยหลักพุทธธรรมในเขตตำบลตากูก อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(2), 295-310.

พระโสภณพัฒนบัณฑิต (สุกันยา อรุโณ) และคณะ. (2562). การขับเคลื่อนระบบสุขภาพโดยใช้ธรรมนูญสุขภาพชุมชนวิถีพุทธตำบลหนองตาไก้ อำเภอโพธิ์ชัย จงหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(2), 1-12.

พิสิษฐ์ จอมบุญเรือง. (2556). แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพา ตนเอง ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 8(24), 15-28.

สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์. (2564). ข้อมูลสำคัญจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปี 2563. นครสวรรค์: สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติบอกอะไร ผู้สูงวัยปัจจุบันและอนาคต. สืบค้น 20 มีนาคม 2564, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01