กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในราชอาณาจักรไทย
คำสำคัญ:
กฎหมายต้นแบบ, ยานยนต์ไฟฟ้า, ราชอาณาจักรไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมายต้นแบบ 2. ศึกษาปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายต้นแบบ 3. วิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายต้นแบบ 4. นำมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของต่างประเทศที่มีความเหมาะสมมาเป็นแนวทางในการร่างกฎหมายของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 วิศวกรไฟฟ้าและวิศวกรยานยนต์ กลุ่มที่ 2
นักกฎหมาย กลุ่มที่ 3 บริษัทผู้รับประกันภัย กลุ่มที่ 4 ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า กลุ่มที่ 5 นักภาษีอากร
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจึงทำให้เกิดปัญหาการควบคุมจุดอัดประจุไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอและไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการกำจัดแบตเตอรี่ที่หมดอายุ ไม่มีความชัดเจนในการจัดเก็บภาษีและปัญหาการคุ้มครองด้านประกันภัยยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศมาเลเซียและประเทศอังกฤษมีมาตรการทางกฎหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในเรื่องการควบคุมจุดอัดประจุไฟฟ้า การกำจัดแบตเตอรี่ที่หมดอายุ การจัดเก็บภาษี ส่วนการคุ้มครองด้านประกันภัย
ยานยนต์ไฟฟ้านั้นประเทศอังกฤษได้มี The Consumer Insurance (Disclosure and Representations) Act 2012 -CIDRA) และ The Insurance Act 2015 -IA 2015 ดังนั้น จึงขอเสนอแนะว่าให้ประเทศไทยจัดทำร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติและยานยนต์ไฟฟ้าแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ... ที่ครอบคลุมปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น
References
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และศูนย์เทคโนโลยีโละและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) (2558). การศึกษาการพัฒนาของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและผลกระทบที่เกิดขึ้นสำหรับประเทศไทย (ฉบับปรับปรุง 8 กุมภาพันธ์ 2558). สืบค้น 29 กรกฎาคม 2559, จาก http://energyforum.kmutt.ac.th/down load/รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการยานยนต์ไฟฟ้า.pdf
ศุภณัฐฐา บุบผากลิ่น. (2565). มาตรการทางกฎหมายในการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งาน (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย. (2559). แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาการสนับสนุน โครงการสนับสนุนการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station). สืบค้น 6 ธันวาคม 2559, จาก https://shorturl.asia/h28s0
อังคีร์ ศรีภคากร. (2556). ยานยนต์ไฟฟ้าพื้นฐานการทำงานและการออกแบบ. กรงุเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกลักษณ์ วิลัยหงส์. (2558). มาตรการทางกฎหมายภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรเพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). กรงุเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Europian Union. (2018). Directive 2006/66/Ec of The European Parliament and of The Counci. Retrieved March 20, 2023, from https://shorturl.asia/0Sy94
Malaysia Automotive Association. (2016). Duties & Taxes on Motor Vehicles. Retrieved March 20, 2023, from http://www.maa.org.my/info_duty.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น