การพัฒนาชุมชนปลอดยาเสพติดโดยหลักพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาบ้านป่ากล้วย ตำบลทุ่งพง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • นิรันดร์ นิสัยคาน สถานีตำรวจภูธรหนองฉาง
  • พระเมธีวัชรบัณฑิต (หรรษา ธมฺมหาโส) สถานีตำรวจภูธรหนองฉาง

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุมชน, ชุมชนปลอดยาเสพติด, หลักพุทธสันติวิธี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ 1. เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา สาเหตุ อุปสรรค การแก้ไขปัญหายาเสพติด และหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาชุมชนปลอดยาเสพติดตามวิทยาการสมัยใหม่ 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาคนและการพัฒนาชุมชนปลอดยาเสพติด 3. เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาชุมชนปลอดยาเสพติดโดยหลักพุทธสันติวิธี บ้านป่ากล้วย ตำบลทุ่งพง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ในปี พ.ศ. 2561-2565 พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในชุมชนบ้านป่ากล้วย ตรวจพบผู้เสพยาบ้า รวม 25 ราย สาเหตุจาก อยากมีเงิน ทรัพย์สิน หรือฐานะที่ร่ำรวย โดยอุปสรรคในการแก้ปัญหา ได้แก่ กลุ่มผู้ค้ายาเสพติดมีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย, ไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน และขาดการติดตามประเมินผลของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง
2. กระบวนการพัฒนาชุมชนปลอดยาเสพติด โดยใช้หลักบวร (บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ) โดยดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ด้วยการขับเคลื่อนชุมชนโดยหลักพรหมวิหาร 4 ดังนี้ 1) เมตตา การค้นหาผู้เสพผู้ค้ายาเสพติด 100 % 2) กรุณา การอบรมบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดซ้ำ ๆ 3) มุทิตา การยกย่องเชิดชู เมื่อผู้เสพยาเสพติดเข้ากระบวนการบำบัดแล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้จริง 4) อุเบกขา การติดตามช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดไม่ให้กลับไปสู่วังวนของยาเสพติดอีก ซึ่งก่อให้เกิดเป็นพลังบวรที่เข้มแข็ง บุคคลอยู่เย็น ครอบครัวเป็นสุข ชุมชนยั่งยืน และสังคมสันติสุข

References

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2566). แผนปฏิบัติราชการรายปี พ.ศ. 2566 ของกรมการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.

บฏสกรรัตน์ หงสกุล และคณะ. (2561). กระบวนการจัดการเพื่อคุ้มครองสิทธิและป้องกันการกระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 193-205.

พระครูพินิตปริยัติกิจ (สมบัติ วรธมฺโม) และคณะ. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการแก้ไขปัญหาการติดยาเสพติดในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 1-14.

พระครูสิทธิวชิรโสภิต (ประสิทธิ์ สมฺมาปญฺโญ). (2565). การศึกษานโยบายของพรรคการเมืองในการหาเสียงเลือกตั้ง พ.ศ.2566 กับนโยบายเชิงพุทธที่ประชาชนไทยคาดหวัง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(3), 486-500.

พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส). (2565). ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(1), 114-122.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์ โฮม จำกัด.

พิศมัย ทองเที่ยง. (2563). หลักการให้โอกาสผู้เสพผู้ติดยาเสพติดคืนคนดีสู่สังคมในสถานประกอบการด้วยพรหมวิหาร-สังคหวัตถุ 4. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 7(2), 11-29.

ภูฟ้าเรสท์โฮม. (2566). ปัญหายาเสพติดในไทย และแนวทางการแก้ไข ปี 2566. สืบค้น 24 ตุลาคม 2565, จาก https://www.phufaresthome.com/blog/drugs-problem-in-thailand-2566/

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2565). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2566). ยาเสพติด. สืบค้น 30 มกราคม 2566, จาก https://www.egacy.orst.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15