กลยุทธ์การบริหารเพื่อความเป็นนวัตกรของครูยุคดิจิทัล โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การบริหาร, ความเป็นนวัตกร, ครูยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาองค์ประกอบความเป็นนวัตกรของครูยุคดิจิทัล 2. พัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อความเป็นนวัตกรของครูยุคดิจิทัล 3. ทดลองใช้กลยุทธ์ และ 4. ประเมินผลกลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำนวน 410 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน
ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบความเป็น นวัตกรของครูยุคดิจิทัล มี 3 ด้าน 36 ตัวบ่งชี้ ความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการสร้างเครือข่ายมีความต้องการจำเป็นสูงสุด 2. กลยุทธ์การบริหารเพื่อความเป็นนวัตกรของครูยุคดิจิทัล ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ 3 กลยุทธ์หลัก 5 กลยุทธ์รอง 28 แนวปฏิบัติการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และการควบคุมกลยุทธ์ ผลการประเมินความเหมาะสมกลยุทธ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการประเมินระดับพฤติกรรมตนเองหลังเข้ารับการพัฒนาสูงกว่าก่อนเข้ารับการพัฒนา และระดับความพึงพอใจต่อกลยุทธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมินประสิทธิผลของกลยุทธ์ ระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของครูผู้เข้ารับการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
โกศล ภูศรี. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จันทร์จิรา บุญมี และคณะ. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 50-65.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2556). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซท.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2556). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณิชา ฉิมทองดี. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวพร ชลารักษ์. (2564). องค์ประกอบความเป็นครูนักนวัตกรในการศึกษายุคดิจิทัลเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(3), 94-108.
ปิยนันต์ คล้ายจันทร์ และประทุมทอง ไตรรัตน์. (2564). รูปแบบการเสริมสร้างความเป็นนวัตกรสำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(8), 236-252.
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2563). สมรรถนะและการจัดการเชิงกลยุทธ์. มหาสารคาม: ตักสิลา การพิมพ์.
วสันต์ สุทธาวาศ. (2558). ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ : การศึกษาทฤษฎีฐานราก. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 281-300.
สมพร สามทองกล่ำ. (2562). รูปแบบโรงเรียนนวัตกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นนวัตกรของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. (2564). รายงานผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ประจำปีการศึกษา 2564 (รายงานการวิจัย). กาฬสินธุ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากาฬสินธุ์.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). นวัตกรรมบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสร้างนวัตกร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), 193-213.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). การบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพการศึกษายุคใหม่. ขอนแก่น: แอนนา.
อภิชน นาชัยฤทธิ์. (2565). การศึกษาการบริหารงานชุมชนและเครือข่ายของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น