การศึกษาปัจจัยการตัดสินใจเข้าศึกษามหาวิทยาลัยในประเทศไทย สำหรับนิสิตต่างชาติ สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19
คำสำคัญ:
ปัจจัยการตัดสินใจ, การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา, นิสิตต่างชาติ, COVID-19บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเข้าศึกษามหาวิทยาลัยในประเทศไทย และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จำแนกตามกลุ่มประเทศและประเภทของนิสิตต่างชาติรูปแบบการศึกษาโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษานานาชาติ 5 คน และสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตต่างชาติ 400 คนจาก 35 ประเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการตัดสินใจเข้าศึกษา ได้แก่ 1. ปัจจัยด้านสถาบันการศึกษา ได้แก่ การเรียนการสอนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด รองลงมาคือเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก หลักสูตร ค่าใช้จ่าย ชื่อเสียงอันดับมหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา อาชีพในอนาคต ประเทศ เครือข่าย และห้องปฏิบัติการ 2. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ การแพร่ระบาด COVID-19 สุขภาพและความปลอดภัย นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบจากนิสิต 3 กลุ่มประเทศ (เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา) และประเภทนิสิตต่างชาติ (นิสิตเต็มเวลา และนิสิตแลกเปลี่ยนระยะสั้น) พบว่า นิสิตจาก 3 กลุ่มประเทศให้ความสำคัญปัจจัยด้านสถาบันการศึกษาและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
References
พรพรรณ ยาใจ. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของนักศึกษาต่างชาติในการเข้ามาเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้น 8 มีนาคม 2566 จาก http://www.research.rmutt.ac.th/?p=2862
วลัย วัฒนะศิริ. (2553). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อที่ประเทศไทยในระดับอุดมศึกษา นานาชาติของนักศึกษาประเทศอนุภาคลุ่มน้ำโขง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(73), 129-152.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). ข้อมูลสถิติจำนวนนักศึกษาต่างชาติเข้าใหม่ จำแนกตามสัญชาติ กลุ่มสถาบัน ชื่อสถาบันอุดมศึกษา ชื่อหลักสูตร ระดับการศึกษาและเพศ. สืบค้น 10 มกราคม 2566, จาก https://shorturl.asia/J6HXq
สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษต่างประเทศ. (2563). ความเป็นสากลทั่วทั้งสถาบันเกิดได้ในสถาบัน (Internationalization at Home: IaH). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุรศักดิ์ บุญอาจ. (2558). กระบวนการปรับตัวทาง วัฒนธรรมของนักศึกษาชาวลาวและชาวกัมพูชาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสาร นิเทศศาสตร์, 33(2), 91-106.
Bista, K. et al. (2020). Impacts of COVID-19 on International Students and the Future of Student Mobility: International Perspectives and Experiences. Retrieved March 20, 2022, from https://shorturl.asia/eEBck
Godfrey, P. & Mahoney, J. T. (2014). The Functions of the Executive at 75: An Invitation to Reconsider a Timeless Classic. Journal of Management Inquiry, 23(4), 360-372.
Heizer, J. & Rander, B. (2006). Principles of Operations Management 6th edition International edition (6th ed.). USA: Prentice-Hall, Inc.
Knight, J. (2003). Updated Internationalization Definition. International Higher Education, 33(33). 1-3.
Radu, B. M. (2020). Trends in Current International Migration. Internal Auditing & Risk Management, 15(1), 9-21.
Svanholm, A. G. (2020). The Impact of COVID-19 on Study Abroad: April 2020 Survay Results. Retrieved April 16, 2022, from https://shorturl.asia/42b71
Ye, Y. (2020). Factors Affecting the Decision-Making of the Chinese Students to Study in Higher Education Institutions in Thailand. Romphuek journal, 38(1), 101-117.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น