การใช้ชุดกิจกรรมแบบผสมผสานเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนพหุวัฒนธรรม อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ วงค์ปวน มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
  • พิชญ์สินี ชมภูคำ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น, กิจกรรมแบบผสมผสานเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง, พหุวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างชุดกิจกรรมแบบผสมผสานเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง เรื่องการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อศึกษาความรู้และความสามารถ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบผสมผสานเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 ห้องเรียน 26 คน การเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแบบผสมผสานเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง 2) แบบทดสอบวัดความรู้ 3) รูบริคส์ประเมินความสามารถ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ฐานนิยม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การแปรผัน ค่าสถิติทดสอบ t-test และ Z–test

ผลการวิจัยพบว่า 1. สร้างชุดกิจกรรมแบบผสมผสานเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง ชุดที่ 1 Unplugged  ชุดที่ 2 Live worksheets และชุดที่ 3 code.org แต่ละชุดประกอบด้วย ชื่อชุด หัวข้อ คำชี้แจง จุดประสงค์ ใบความรู้ ใบกิจกรรม สื่อการเรียนรู้ แบบตรวจสอบความรู้และความสามารถ แบบเฉลยใบกิจกรรม กิจกรรมสำรอง หาประสิทธิภาพเชิงเหตุเชิงผลของชุดกิจกรรมทั้ง 3 ชุด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเขียนโปรแกรม ทดสอบทางสถิติด้วย t-test  นักเรียนมีคะแนนความรู้เฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และ Z – test นักเรียนมากกว่าร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งหมด มีความสามารถอยู่ในระดับดีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563. สืบค้น 4 เมษายน 2566, จาก www.bkkedu.in.th/wp-content/uploads/2020/04/นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ-ปีงบประมาณ-พ.ศ.-2563.pdf

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จิราภรณ์ อินทร์พรหม. (2548). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนเสริมความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน ป.6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่14). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภัสสร สำลี และ กิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 4(2), 181-198.

พิชญาภัค ทองม่วง. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างแนวคิดคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับ ชีวิตจริงร่วมกับการเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (การค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัย สาขาหลักสูตรการสอน). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2565). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท.

พิสณุ ฟองศรี. (2551). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

รัตนะ บัวสนธ์. (2564). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วนิดา ประดับศรี. (15 ธันวาคม 2565). การพัฒนาความสามารถด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับกลุ่มนักเรียนที่ขาดทักษะ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. สืบค้น 4 เมษายน 2566, จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=186946

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการประเมินตามสภาพจริง (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วน จำกัด เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2556). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9199 เทคนิคพริ้นติ้งนิทาน.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมศัพท์สถิติศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). รูปแบบชุดกิจกรรมและตัวอย่างกระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล. ตาก: บริษัท โพรเจ็คท์ ไฟฟ์-โฟว์ จำกัด.

องอาจ นัยพัฒน์. (2554). การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kim, B., et al. (2013). Paper-and-pencil programming strategy toward computational thinking for non-majors: Design your solution. Educational Computing Research, 49(4), 437–459.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

How to Cite

วงค์ปวน ท., & ชมภูคำ พ. (2023). การใช้ชุดกิจกรรมแบบผสมผสานเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงเพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนพหุวัฒนธรรม อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(4), 110–123. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/269088