พระบฏ วัดโพธาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี : ศึกษาองค์ประกอบศิลป์ในพุทธประวัติ ตอน ทรงแก้ทิฏฐิมานะ ของพญามหาชมพูบดี สร้างรูปแบบสันนิษฐานสู่แนวทางการอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทยบนผืนผ้า

ผู้แต่ง

  • ชัญญา อุดมประมวล มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

องค์ประกอบศิลป์, สร้างรูปแบบสันนิษฐาน, การอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทยบนผืนผ้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาพุทธประวัติของภาพพระบฏ ตอน ทรงแก้ทิฏฐิมานะของพญามหาชมพูบดี 2. สร้างรูปแบบสันนิฐานด้วยรูปแบบจิตรกรรมไทย 3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อผลงานจิตรกรรม จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ภาพพระบฏตอนทรงแก้ทิฏฐิมานะของพญามหาชมพูบดีที่สร้างจากรูปแบบสันนิษฐานโดยผู้วิจัย แบบประเมินความงามและความสมบูรณ์ของผลงาน และ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ

ผลจากการวิจัยพบว่า พระบฏมีรูปลักษณะเป็นงานศิลปกรรมสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายในภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนภายในซุ้มเรือนแก้ว ขนาบข้างด้วยพระอัครสาวกซ้าย-ขวา ส่วนล่างเป็นเรื่องราว
มหาเวสสันดรชาดก องค์ประกอบ และ สีแสดงออกถึงสีอันเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 1 เช่น สีแดง สีคราม สีที่นิยมใช้ในสมัยปลายอยุธยา และธนบุรี เช่น สีเหลืองดิน องค์ประกอบลายประกอบด้วยกระบวนลายอันเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 1 การสร้างผลงานจิตรกรรมไทยรูปแบบสันนิษฐานมีความสมบูรณ์ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อผลงานจิตรกรรมรูปแบบสันนิฐาน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ มีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยมาตรฐาน อยู่ที่ 4.57 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.68

References

จารุณี อินเฉิดฉาย และขวัญจิต เลิศศิริ. (2545). หนังสือประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวัน อนุรักษ์มรดกไทยพุทธศักราชเรื่องพระบฏ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ชนัส คงหิรัญ. (2563). การพัฒนาการเรียนการสอนด้านทัศนมิติโดยใช้การจัดการองค์ความรู้เป็นฐาน: กรณีศึกษาเทคนิคการเขียนภาพทัศนียภาพโดยการอ้างอิงจากภาพด้าน. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ, 5(2), 1-16.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ธีรพันธ์ จันทร์เจริญ. (2561, 8 มีนาคม). ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี [บทสัมภาษณ์].

วรรณิภา ณ สงขลา. (2535). จิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

วิมล ดำศรี. (2559). ผ้าพระบฏพระราชทานปัจจัยและสื่อส่งเสริมสืบสานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเมืองนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: ไทม์ พริ้นติ้ง.

Line Today. (2022). Wat Klang Na - Wat Photharam - Wat Sakae Where are the old temples from the Ayutthaya period in Bangkok?. Retrieved January 20, 2023, from https://today.line.me/th/v2/article/Op8wmMG

MGR Online. (2009). Buddha Leela: Phraya Chompoo Bodi posture. Retrieved January 2, 2023, from https://shorturl.asia/13mNI

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite

อุดมประมวล ช. (2024). พระบฏ วัดโพธาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี : ศึกษาองค์ประกอบศิลป์ในพุทธประวัติ ตอน ทรงแก้ทิฏฐิมานะ ของพญามหาชมพูบดี สร้างรูปแบบสันนิษฐานสู่แนวทางการอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทยบนผืนผ้า. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(5), 303–318. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/268927