การสร้างภาพลักษณ์ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง

ผู้แต่ง

  • พินิจ เสาวงศ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุชาดา นันทะไชย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การสร้างภาพลักษณ์, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง, ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความระดับคิดเห็นผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับภาพลักษณ์โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้ปกครอง จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 3. เพื่อศึกษาลำดับความสำคัญการสร้างภาพลักษณ์โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 332 คน เครื่องมือทีใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า
5 ระดับ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นผู้ปกครองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นผู้ปกครองเกี่ยวกับภาพลักษณ์โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเรียงลำดับการสร้างภาพลักษณ์ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า ผู้ปกครองให้ความสำคัญด้านบุคลากรมืออาชีพ อยู่ลำดับแรก รองลงมาด้านคุณภาพนักเรียนเท่ากับด้านการบริหารจัดการเป็นเลิศ ส่วนด้านบริการสังคมและชุมชน ไม่ปรากฏในลำดับความสำคัญ 1 ใน 10 ลำดับแรก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

คณพศ ศรีเสน และจิรวัฒน์ วรุณโรจน์. (2564). ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาจุฬาขอนแก่น, 8(3), 237-247.

นภัสสร พวงเกษ (2558). ภาพลักษณ์ของโรงเรียนอนุบาลตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ตามการรับรู้ของผู้ปกครองนักเรียน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น.

วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2553). ภาพลักษณ์ของโรงเรียน. สืบค้น 18 สิงหาคม 2565, จากhttp://prodang.blogspot.com/2010/01/blog-post_6679.html

ศุภาพิชญ์ ปังกระโทก. (2559). ภาพลักษณ์ของโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สรารัตน์ มอดชำนาญ. (2555). ภาพลักษณ์องค์กร. สืบค้น 4 ตุลาคม 2565, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/429640

สัมฤทธิ์ จำนงค์. (2559). ภาพลักษณ์องค์กรและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สิทธิชัย มเหศศิริ และสำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2562). ภาพลักษณ์ของโรงเรียนพลอยจาตุรจินดาตามทัศนะของผู้ปกครอง. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 233-244.

Gregory, J. R., & Wiechmann, J. G. (1991). Margeting corporate image. Chicago: NTC.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, (Ed.), Attiude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Ramadhan, A. R., & Nurdiansyah, N. (2565). Analysis of the Principal's Role in Building Institutional Image and Work Professionalism in the Junior High School. Education Environment, 6, 6-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

How to Cite

เสาวงศ์ พ., & นันทะไชย ส. (2023). การสร้างภาพลักษณ์ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(4), 182–195. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/268900