สุขภาวะที่ดีทางดิจิทัลของนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • นันทิภา แสงทอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุชาดา นันทะไชย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุดารัตน์ สารสว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

สุขภาวะที่ดีทางดิจิทัล, นักเรียน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับสุขภาวะที่ดีทางดิจิทัลของนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2. เปรียบเทียบสุขภาวะที่ดีทางดิจิทัลจำแนกตามเพศ และระดับชั้น ของนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เลือกในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ปีการศึกษา 2565 มีจำนวนทั้งหมด 2,634 คน และมีการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejci & Morgan ได้ทั้งสิ้น 339 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับสุขภาวะที่ดีทางดิจิทัลของนักเรียน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 2. ผลการเปรียบเทียบสุขภาวะที่ดีทางดิจิทัลจำแนกตามเพศ และระดับชั้น พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). แผนแมบทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2555-2559. นนทบุรี: กระทรวงพาณิชย์.

_____. (2559). เอกสารรายงานการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

กุลนรี หาญพัฒนชัย และคณะ. (2564). พฤติกรรมและผลกระทบจากการติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 15(38), 561-573.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวทางปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

คมกริช อุดารักษ์. 2558. พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันกลุ่มเมฆของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 จังหวัด สมุทรปราการ. วารสารวิชาการตลาดและการจัดการ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2(2), 27-38.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2561). ผลการประเมินกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/OHfnx

JISC. (2020). Quick Guide-Developing Students’ Digital Literacy. Retrieved May 19, 2018, from https://shorturl.asia/XjgTc

Lalimay. (2017). Child protection card game Prevent children from being deceived with simulation games. Retrieved December 20, 2022, from https://shorturl.asia/RYtDP

Lyons, R. (2012). Investigating Student Gender and Grade Level Differences in Digital Citizenship Behavior. Minnesota: College of Education Walden University.

Krejcie, R. V. & D. W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite

แสงทอง น., นันทะไชย ส., & สารสว่าง ส. (2024). สุขภาวะที่ดีทางดิจิทัลของนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(5), 239–249. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/268298