การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ และผลการดำเนินงานของ องค์การสัญชาติไทยและญี่ปุ่น ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ, ผลการดำเนินงานขององค์การ, เขตภาคตะวันออกของประเทศไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาอิทธิพลของการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การที่มีต่อผลการดำเนินงานขององค์การโดยเปรียบเทียบระหว่างองค์การสัญชาติไทยและองค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 301 องค์การ และใช้เทคนิคโมเดลสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การมีอิทธิพลทางบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์การด้านที่ไม่ใช่การเงิน (ค่าอิทธิพลเป็น 0.73) มากกว่า ผลการดำเนินงานขององค์การด้านการเงิน (ค่าอิทธิพลเป็น 0.34) และเมื่อเปรียบเทียบองค์การสัญชาติไทยและญี่ปุ่น พบว่า การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การมีอิทธิพลกับผลการดำเนินงานขององค์การ 2 สัญชาตินี้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยองค์การสัญชาติญี่ปุ่นแสดงค่าอิทธิพลมากกว่าองค์การสัญชาติไทยทั้งด้านที่ไม่ใช่การเงิน (ค่าอิทธิพลของญี่ปุ่นและไทยเป็น 0.79 และ 0.58 ตามลำดับ) และด้านการเงิน (ค่าอิทธิพลของญี่ปุ่นและไทยเป็น 0.38 และ 0.10 ตามลำดับ) ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์การในอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย เพื่อที่จะได้เกิดความเข้าใจในการจัดการกับปัจจัยหลักซึ่งก่อให้เกิดความสำเร็จในการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ
References
Baird, K. et al. (2011). The relationships between organizational culture, total quality management practices and operational performance. International Journal of Operation & Production Management, 31(7), 789-814.
Budayan, C. & Okudan, O. (2022). Roadmap for the implementation of total quality management (TQM) in ISO 9001-certified construction companies: Evidence from Turkey. Ain Shams Engineering Journal, 13(6), 1-11.
Cetindere, A. et al. (2015). The effects of quality management on the business performance: An application in the province of Kutahya. Procedia Economics and Finance, 23(1), 1376-1382.
Chountalas, P. T. & Athanasios G. L. (2019). Paradigms in business process management specifications: A critical overview. Business Process Management Journal, 25(12), 1040-1069.
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Hodgetts, R. M. (1999). Quality implementation in small business: perspectives from the Baldrige award winners. SAM Advanced Management Journal, 64(1), 37-47.
Jayaram, J. (2010). Contingency relationships of firm size, TQM duration, unionization, and industry context on TQM implementation-A focus on total effects. Journal of Operations Management, 28(4), 345–356.
Juran, J. M. (1989). Leadership for Quality: An Executive Handbook. New York: The Free Press.
Kassicieh, S. K. & Yourstone, S. A. (1998). Training, Performance Evaluation, Rewards, and TQM Implementation Success. Journal of Quality Management, 3(1), 25-38.
Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling (3rd ed.). New York: Guilford press.
Koh, T. Y. & Low, S. P. (2010). Empiricist Framework for TQM Implementation in Construction Companies. Journal of Management Engineering, 26(3), 133-143.
Kotze, R. S. (2006). Performance: The Secrets of Successful Behaviour. London: Financial Times Prentice Hall.
Sila, I. & Ebrahimpour, M. (2002). An investigation of the total quality management survey based research published between 1989 and 2000: A literature review. International Journal of Quality and Reliability Management, 19(7), 902-970.
Stravinskiene, I. & Serafinas, D. (2020). The Link between Business Process Management and Quality Management. journal of risk and financial management, 13(255), 1-11.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น