การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางศีลธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • ธนกร หงษ์วิหค มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สิทธิกร สุมาลี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้เชิงสถานการณ์, ความฉลาดรู้ทางศีลธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางศีลธรรม 2. ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 6 โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 93 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ 2. แบบวัดความฉลาดรู้ทางศีลธรรม 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เมื่อรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล

ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางศีลธรรม พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการประเมินความฉลาดรู้ทางศีลธรรม พบว่า นักเรียนทุกคนมีผลการประเมินหลังเรียนอยู่ในระดับดี ร้อยละ 100 ค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.80 แสดงว่านักเรียนมีความฉลาดรู้ทางศีลธรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 และ 4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อมีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม. (2564). ภาวะสังคมไทย Social Situation and Outlook. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ไชยฉัตร โรจน์พลทามล. (2562). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์. (2563). จิตวิทยาการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: มีน เซิอร์วิส ซัพพลาย.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาอภิพงค์ ภูริวฑฺฒโน และคณะ. (2565). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 ในฐานะบุพการีของศิษย์. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(3), 49-64.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2563). อนาคตของครุศึกษาไทยกับการสร้างความฉลาดรู้. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 1-7.

วชิราภรณ์ อำไพ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวการเรียนรู้เชิงสถานการณ์จากสื่อในชีวิตประจำวันที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดไตร่ตรองการบริโภคชองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรางคณา เค้าอ้น. (2560). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 8-18.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2559). วิธีการสอนทั่วไป. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). สองทศวรรษปฏิรูปการศึกษาไทยความล้มเหลวและความสำเร็จสุขภาพคนไทย 2563. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการสังเคราะห์ตัวชี้วัดด้านการศึกษาไทยตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2561). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: พริ้นท์ คอรเนอร์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2561). สถิติและการวิจัยเบื้องต้นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อริศรา เล็กสรรเสริญ และคณะ. (2563). รายงานสถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน).

Chang, B. (2021). Situated Learning – Foreign Sites as Learning Contexts. Journal of Comparative & International Higher Education, 13(2), 5-22.

Pablo, T. (2021). Leadership challenges in the V.U.C.A world. Retrieved April 5, 2021, from https://www.oxfordleadership.com/leadership-challenges-v-u-c-world.

Tuana, N. (2007). Conceptualizing moral literacy. Journal of Educational Administration, 45(4), 364-378.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01