รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานขององค์กรทางการเงินชุมชนในด้านการออมและการเข้าถึงแหล่งทุนที่เป็นธรรม

ผู้แต่ง

  • วัลลภ สุรทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างความเข้มแข็ง, การดำเนินงาน, องค์กรทางการเงินชุมชน

บทคัดย่อ

องค์กรการเงินชุมชน เป็นองค์กรการเงินระดับฐานรากที่มีบทบาทสูงต่อการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งด้วยการสะสมทุน และพัฒนาทุนชุมชนด้านการเงินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน มีคุณลักษณะพิเศษที่เป็นการบริหารจัดการโดยคนในชุมชนเอง และเป็นแนวทางที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อลดปัญหาความยากจนและให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ผ่านกลไกการสนับสนุนและนโยบายต่าง ๆ ของรัฐ โดยเฉพาะท่ามกลางสภาวะความผันแปรทางด้านเศรษฐกิจและการปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนในสังคม รวมทั้งสภาพทางการเมืองที่ไม่แน่นอน ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของประชาชนที่มีความยุ่งยากมากขึ้น การบริหารจัดการองค์กรการเงินชุมชนจึงเป็นแนวทางหนึ่งต่อการดำรงอยู่ได้ในสภาวะของการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีแนวคิดของการพัฒนาและรักษาองค์กรการเงินชุมชนไว้ ซึ่งรูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานขององค์กรทางการเงินชุมชนในด้านการออมและการเข้าถึงแหล่งทุนที่เป็นธรรม 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผู้นำด้านการบริหาร ด้านเครือข่าย และด้านการพัฒนาชุมชน

References

กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว และคณะ. (2560). การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนพูนบำเพ็ญเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(1), 46-57.

ณัฐนรี ศรีทอง. (2552). การเพิ่มศักยภาพภาวะความเป็นผู้นำในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วังโอเดียนสโตร์.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2546). การพัฒนาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ และคณะ. (2552). โครงการศึกษาแนวทางการจัดทำเครื่องมือประเมินตนเองขององค์กรการเงินชุมชนฐานรากเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการเศรษฐกิจชุมชน. สืบค้น 23 มกราคม 2567, จาก https://shorturl.asia/fCJ14

ภีม ภคเมธาวี และคณะ. (2544). โครงการวิจัยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรการเงินชุมชน. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ศศิธร บุญเพิ่ม. (2554). การวิเคราะห์ศักยภาพองค์กรการเงินชุมชนบ้านดงเจริญชัยอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สฤณี อาชวานันทกุล และปัทมาวดี โพชนุกูล. (2556). คู่มือองค์กรการเงินชุมชน : แนวทางการบริหารจัดการองค์กรการเงินชุมชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

Bevir, M. (2010). Democratic Governance. USA.: Princeton University Press.

Creighton. (2005). The Public participation Handbook : Making Better Decisions Through Citizen Involvement. USA.: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite

สุรทศ ว. (2024). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานขององค์กรทางการเงินชุมชนในด้านการออมและการเข้าถึงแหล่งทุนที่เป็นธรรม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(6), 439–450. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/267028