คุณลักษณะของรัชกาลที่ 9 ในรอยพระยุคลบาทของวสิษฐ เดชกุญชร กับโครงสร้างความรู้สึกในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • ทศพร มุ่งครอบกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คุณลักษณะของรัชกาลที่ 9, รอยพระยุคลบาท, โครงสร้างความรู้สึกในสังคมไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการนำเสนอให้เห็นว่า “รอยพระยุคลบาท” ของ วสิษฐ เดชกุญชร นั้น ได้เปิดเผยให้เห็นถึงคุณลักษณะของรัชกาลที่ 9 ที่ว่า 1. รัชกาลที่ 9 ทรงดำเนินบทบาททางด้านการพัฒนาและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนไทยอย่างทุ่มเท ใกล้ชิด และ 2. รัชกาลที่ 9 ทรงมีด้านที่เหมือนกับสามัญชน โดยคุณลักษณะดังกล่าวนี้ จะแตกต่างไปจากคุณลักษณะของรัชกาลที่ 9 ที่ปรากฏในงานเขียนของบุคคลอื่น และการเปิดเผยคุณลักษณะดังกล่าว จะมีผลให้ประชาชนผู้อ่าน โดยเฉพาะในสังคมไทย เกิดโครงสร้างความรู้สึก (structure of feeling) ที่อยากช่วยปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยด้วย

References

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2561). ตามรอยพระยุคลบาท เรื่อง ชีวิตวัฒนธรรม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2561). พระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณฯพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการพัฒนาการศึกษา. สืบค้น 21 มีนาคม 2562, จาก https://shorturl.asia/QlWOk

วสิษฐ เดชกุญชร. (2559). รอยพระยุคลบาท (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มติชน.

วิลาศ มณีวัต. (2539). พระราชอารมณ์ขัน. กรุงเทพฯ: พี.วาทิน พับลิเคชั่น.

_____. (2544). พระราชอารมณ์ขันจากพระโอษฐ์. กรุงเทพฯ: ปิ่นอักษร.

_____. (2549). พระราชอารมณ์ขันจากวังสวนจิตรฯ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วสี ครีเอชั่น.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ด่านสุทธาการพิมพ์.

_____. (2556). ตามรอยพระยุคลบาท...ครูแห่งแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_____. (2559). ใต้เบื้องพระยุคลบาท (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: มติชน.

Williams, R. (1977). Marxism and Literature. UK: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01