การพัฒนารูปแบบการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการเสริม ต่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ อย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ฐิติพงศ์ เหลืองสุวรรณ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ลำไย สีหามาตย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอน, ทฤษฎีโครงสร้างความรู้, แนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้, การอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. พัฒนารูปแบบการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ และ 2. ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนแม่อายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการสอนตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและแบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการทดลองและวิเคราะห์ข้อมูล สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

จิตติมา เขียวพันธ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมร่วมกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนชาติ หล่อนกลาง. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่นตามแนวการสอนประสบการณ์ การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและเจตคติต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิมา สุทะพินธ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณแบบเน้นภาระงาน ร่วมกับการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการใช้กลวิธีการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 7(2), 399-414.

ประสรรค์ ตันติเสนาะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านตามทฤษฎีโครงสร้างเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรินทร์ สุริยวงค์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการอ่านและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 20(1), 9-29.

เพ็ญศิริ ซื่อสัตย์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(2), 55-74.

มันทนา อุตทอง. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเนินมะหาด จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรนิพิฎ พันธ์หนองหว้า. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ร่วมกับกลวิธีการเสริมต่อความคิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาคณิตศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกุลการ สังข์ทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563. สืบค้น 20 เมษายน 2564, จาก http://www.niets.or.th

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สันติวัฒน์ จันทร์ใด และคณะ. (2016). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ และการเรียนรู้แบบกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์, 47(2), 449-469.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Aloqaili, A. S. (2011). The relationship between reading comprehension and Critical thinking. Journal of King Saud University Languages and Translation, 24(1), 35-41.

Adedokun, A. O. et al. (2018). Schema Theory and its implications for teaching reading in English as a second language. Ebony Journal of Language and Literary Studeis, 1(2), 77-87.

Fournier, N. E. & Graves, M. F. (2002). Scaffolding Adolescents Comprehension of Short Stories. Journal of Adolescents and Adult Literacy, 48(1), 30-39.

Hu, J. (2019). The Influence of Content Schema on L2 Learners’ Reading Comprehension: Evidence from Chinese Learners of English. Academic Research Publishing Group, 5(3), 31-37.

Joyce & Weil, M. (2009). Model of Teaching (6th ed.). Englewood Cliff, NJ: Prentice-Hall.

Yanti, N. P. E. (2014). Improving Reading Comprehension Through Scaffolding Reading Experience (Sre) Strategy of The Eighth Grade Students of Smpn 1 KutaUtara In Academic Year 2013/2014. Indonesia: Mahasaraswati Denpasar University.

Rumelhart, D. E. (1981). Schema: The building block of cognition, comprehensionand reading research reviews. New York: International Reading Association.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher psychological Processes. Cambridge MA: Harvard University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01