ความทรงจำในสมัยเขมรแดงผ่านการประกอบสร้างในภาพยนตร์เรื่อง FIRST THEY KILLED MY FATHER

ผู้แต่ง

  • ชานนท์ ไชยทองดี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • อภิญญา ขอกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • พรพิมล ศิวินา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ความทรงจำ, เขมรแดง, การประกอบสร้างภาพยนตร์เรื่อง First They Killed My Father

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาความทรงจำในสมัยเขมรแดงผ่านการประกอบสร้างในภาพยนตร์เรื่อง FIRST THEY KILLED MY FATHER โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ขั้นตอนในการวิจัย คือ ทำความเข้าใจภาพยนตร์เรื่อง First They Killed My Father เพื่อนำไปตั้งเป็นประเด็นปัญหา และวัตถุประสงค์ในการวิจัย ใช้การรวบรวมข้อมูลจากบทความวารสาร วิทยานิพนธ์ รวมไปถึงข้อมูลจากเว็บไซต์ โดยใช้แนวคิดความทรงจำ แนวคิดการโหยหาอดีต แนวคิดภาพแทน และแนวคิดสัญวิทยาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์

 ผลการวิจัยพบว่า การประกอบสร้างในภาพยนตร์มี 3 ด้านคือ 1. ผ่านความทรงจำโดยใช้การอ้างอิงจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าของ Loung Ung ซึ่งองค์ประกอบที่ใช้ประกอบสร้าง ได้แก่ เรื่อง แก่นเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก เหตุการณ์ บทสนทนา และกลวิธีในการเล่าเรื่อง 2. ผ่านตัวละครหลักโดยใช้มุมมองการมองภาพเหตุการณ์ผ่านสายตาของตัวละครหลักคือ Loung Ung 6 ด้าน ได้แก่ ความรุนแรง ชนชั้น ช่วงวัย ความสัมพันธ์ ความเชื่อ และความแร้นแค้น 3. ผ่านสัญญะ พบว่า มี 4 สัญญะ ได้แก่ สัญญะความโหยหาอดีต สัญญะภาพแทน สัญญะการทำลาย และสัญญะการปลูกฝังอุดมการณ์ เขมรแดง ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้การประกอบสร้างเรื่องราว และให้ความหมายโดยการนำเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นมาเรียบเรียงผ่านความทรงจำของ Loung Ung เพื่อให้ผู้ชมได้ร่วมรู้สึกถึงความดิ้นรนเอาชีวิตรอดในสังคมใหม่ไปกับ Loung Ung ผ่านเหตุการณ์และความรู้สึกที่ตัวละครต้องประสบโดยใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อในการสร้างพื้นที่ความทรงจำให้ผู้ชมเห็นว่าเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในความทรงจำร่วมกับชาวกัมพูชาผู้เคยสูญเสีย

References

กัญจน์วลัย นาชัยสิทธิ์. (2547). ขบวนการคอมมิวนิสต์กัมพูชา ค.ศ. 1963-1979 (วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กิตติพล สรัคคานนท์. (2563). ถิ่นที่อยู่ของความทรงจำ. สืบค้น 26 กันยายน 2563, จาก https://shorturl.asia/sHpTB

เขมิกา จินดาวงศ์. (2551). การวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ของอภิชาตพงศ์วีระเศรษฐกุล (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จิมศิริ เหลืองศุภกรณ์. (2560). มาแล้ว! First They Killed My Father หนังกำกับโดยแอนเจลินา โจลี. สืบค้น 26 กันยายน 2563, จาก https://thestandard.co/first-killed-father-directed- by-angelina- jolie/

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2555). สัญวิทยาหลังโครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ดวง เขียว. (2556). ชาตินิยมกัมพูชาและความสัมพันธ์กับการสังหารมวลชนและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (1975-1979) (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นราธร สายเส็ง. (2560). พื้นที่กับความทรงจำ spatial and memory. ทีทัศน์วัฒนธรรม, 15(1), 23-41.

นวพร เรืองศรี. (2564). ชีวิตที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบของหลวง อัง ผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกลุ่มเขมรแดง. สืบค้น 8 เมษายน 2565, จาก https://shorturl.asia/Z1l2h

ประชาไท. (2556). สนทนากับ Youk Chhang ว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการปรองดองในกัมพูชา. สืบค้น 8 เมษายน 2565, จาก https://shorturl.asia/C3hjL

ประวิทย์ แต่งอักษร. (2560). First They Killed My Father บาดแผลและความทรงจำ. สืบค้น 26 กันยายน 2563, จาก https://thestandard.co/filmreview-first-they-killed-my-father/

พัฒนา กิติอาษา. (2546). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

เฟิร์ล โปมิล. (2564). การศึกษานวนิยายเขมรแนวประจักษ์พยานวรรณกรรมสมัยเขมรแดง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลีลา จันทร์สว่าง. (2556). การศึกษาความเชื่อมโยงของสื่อ สังคมและอุดมการณ์ชาตินิยมกระแสหลักผ่านสื่อละครโทรทัศน์เรื่องทวิภพ (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01