การให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อสร้างชุดความคิดเติบโตในระดับการศึกษาปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • รัชนี นกเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การให้ข้อมูลย้อนกลับ, ชุดความคิดเติบโต, การศึกษาปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษาปฐมวัย เป็นการพัฒนามนุษย์ในช่วงแรกของชีวิตอย่างเป็นองค์รวม เป็นการพัฒนาบนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อสร้างชุดความคิดเติบโตในระดับการศึกษาปฐมวัย เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็ก และเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ดูแลเด็กหรือผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็ก โดยเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้กับจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อช่วยทำให้เด็กมีชุดความคิดเติบโตที่ดีขึ้น ด้วยหลักการให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งทัศนคติ การกระทำ และคำพูด ที่สามารถสร้างชุดความคิดเติบโต หรือการสร้างแนวความคิดให้เด็กตระหนักว่าสติปัญญาหรือความสามารถของตนเองนั้น พัฒนา เติบโต และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้ โดยอาศัยความพยายามและการเรียนรู้ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เอื้อต่อการเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ในอนาคต

References

รัชนี นกเทศ. (2565). การพัฒนากระบวนการนิเทศการสอนตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสภา. (2555). ศัพท์ศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การประเมินเพื่อเรียนรู้: การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_____. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. New York: Random House.

_____. (2008). Mindsets and math/science achievement. CA: Stanford University.

_____. (2020). Self-Theories: Their role in motivation, personality, and development. New York: Psychology Press.

Hattie, J. & Timperley, H. (2007). The power of feedback. Review of Educational Research, 77(1), 81-112.

Pollock, J. E. (2012). Feedback: The Hinge that Joins Teaching and Learning. London: Corwin.

Ricci, M. C. (2013). Mindsets in the classroom: building a culture of success and student achievement in schools. USA: Prufrock Press Inc.

Sullivan, H. & Higgins, N. (1983). Teaching for Competence. New York: Teacher Collage Colombia University.

Truax, M. (2018). The Impact of Teacher Language and Growth Mindset Feedback on Writing Motivation. Literacy Research & Instruction, 57(2), 135-157.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01