แนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการ ที่มีแรงงานต่างด้าวเขตพื้นที่ภาคใต้ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สมชัย ปราบรัตน์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • สรัญญา โยะหมาด มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, แรงงานต่างด้าว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาความต้องการในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าวเขตพื้นที่ภาคใต้ประเทศไทย 2. ศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หน่วยงานรัฐและเครือข่ายภาคีผู้ประกอบการที่มีต่อองค์กร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นายจ้างหรือผู้รับผิดชอบงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าว สังกัดเขตภาคใต้ 14 จังหวัด จำนวน 371 คน วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ จากจังหวัดกลุ่มตัวเขต คือ นครศรีธรรมราช  ตรัง และสงขลา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานประกอบการส่วนใหญ่มีความต้องการพัฒนาระบบการสรรหาและคัดเลือกแรงงานต่างด้าวโดยกำหนดกระบวนการและมาตรฐานที่ชัดเจน ร้อยละ 57.10 รองลงมา การอำนวยความสะดวกแรงงานในการขึ้นหรือต่อทะเบียนการทำงาน ร้อยละ 49.30 และการปรับปรุงสวัสดิการรักษาพยาบาลโดยอำนวยความสะดวกแรงงานในโรงพยาบาล ร้อยละ 48.50  2. สถานประกอบการมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานรัฐประเด็น ตำแหน่งงานที่อนุญาตให้มากขึ้น การประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้รวดเร็วและทั่วถึง การยืดหยุ่นการส่งเอกสาร การอบรมให้ความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ของแรงงานต่างด้าว และ การนำเทคโนโลยีมาใช้ส่งเอกสาร ข้อเสนอแนะต่อเครือข่ายภาคีผู้ประกอบการประเด็น สร้างร่วมมือช่วยเหลือกันให้มากขึ้น

References

กนกวรรณ จิตรโรจนรักษ์. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าวที่ทำงานรับใช้ในบ้าน (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กันยา ศรีสวัสดิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารแรงงานอพยพสัญชาติพม่าของผู้ประกอบการไทยในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษา, 2(2), 167-180.

ไกรสร ศรีสุวรรณ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนงานของแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ในเขตจังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 122-130.

ชาตรี มูลสถาน. (2554). การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวชาวลาวในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ฐากฤชภ์ ทองเกิด. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการในเขตอำเภอวัฒนานคร อำเภอคลองหาด อำเภออรัญประเทศ และอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1), 88-101.

เทอดทูน ไทศรีวิชัย. (2560 ). แนวทางบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จ. สืบค้น 19 ธันวาคม 2560, จาก https://tigersoft.co.th/2017/02/14/

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2551). สถานการณ์และผลกระทบของแรงงานต่างด้าวในระบบเศรษฐกิจไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

พัชรินทร์ ขันคา. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การจ้างแรงงานต่างด้าวของนายจ้างในเขตจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภัทรวุธ เภอแสละ. (2552). แนวทางการพัฒนากระบวนการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนี เข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: วิจิตรหัตถกร.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2560). สถานการณ์แรงงานต่างด้าว ฉบับประจำเดือนตุลาคม. สืบค้น 19 ธันวาคม 2560, จาก https://shorturl.asia/dEHC2

อธิพงศ์ ทองแดง. (2552). ปัญหาจากการจ้างแรงงานต่างด้าว ตามมาตรฐานการจ้างแรงงานไทยของผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Uliana, E. et al. (2005). Towards reporting human capital. Meditari Accountancy Research, 2(13), 167-188.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01