แนวทางพัฒนาเส้นทางอาชีพตำรวจหญิงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • สิริรัตน์ เพียรแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การพัฒนาอาชีพ, ตำรวจหญิง, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาแนวทางการพัฒนาอาชีพตำรวจหญิงในประเทศไทย 2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการพัฒนาอาชีพตำรวจหญิงในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ พนักงานสอบสวนหญิงที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่ผ่านงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการพัฒนาอาชีพตำรวจหญิงในประเทศไทยพบว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีการวางโครงสร้างตำแหน่งงานให้เหมาะสมและวางแผนการสืบทอดตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม การจัดทำเส้นทางอาชีพมีลักษณะเป็นภาพรวมไม่ได้มีการดำเนินการเฉพาะราย ส่วนการประเมินผลและการให้รางวัลและผลตอบแทนยังไม่มีความแตกต่างจากตำรวจชาย ส่วนการประเมินผลการปฏิบัติงานและการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ได้มีความแตกต่างกันระหว่างตำรวจหญิงและชาย แต่มีการจัดแนวทางการวางโครงสร้างตำแหน่งงานตำรวจหญิงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติชัดเจนในระดับหนึ่ง 2. ด้านปัจจัยที่สัมพันธ์กับแนวทางการพัฒนาอาชีพตำรวจหญิงในประเทศไทย ได้แก่ การศึกษาเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนสายงานไปในลักษณะงานที่ชอบ สถานภาพสมรส การปรับตัวในการทำงาน และประเภทงานที่มีความเสี่ยง และทัศนคติในทางเพศด้านชายและหญิง

References

ไกรวุฒิ วัฒนสิน. (2563). การศึกษาความท้าทายการปฏิบัติหน้าที่ของนายร้อยตำรวจหญิง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 197-210.

จักรพงษ์ กิตติพงศ์พิทยา. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความมั่นคงในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานและความทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชัยวุฒิ เกียรติก้องกำจาย. (2557). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการสอบสวนของพนักงานสอบสวนหญิง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(3), 28-36.

ธัญรดี ไตรวัฒนวงษ์. (2555). มาตรการป้องกันการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ : กรณีศึกษาพนักงานสอบสวนหญิงสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์การศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

สิทธิพงษ์ นาคเด่น. (2556). ทัศนคติต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจ: กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพรพรรณ อรุณแสงส่องดี. (2554). แรงจูงใจในการเข้าศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจของ นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรพล ไทยประเสริฐ. (2555). การยอมรับบทบาทของพนักงานสอบสวนหญิงในการสอบสวนคดีความผิดอาญาบางประเภท : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อติภา เนาวกิตตินาถ. (2562). ปัญหาและอุปสรรคการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 668-679.

อภิสัณห์ หว้าจีน. (2546). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนหญิงในสถานีตำรวจนครบาล (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรุณรัตน์ คันธา และคณะ. (2556). การย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 28(3), 19-31.

อำพรรณ์ ปานเจริญ (2556). วาทกรรมนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุดร วงษ์ชื่น. (2540). ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านการสอบสวนคดีอาญาของ พนักงานสอบสวนหญิง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Alexander, D. A. & Walker, L. G. (1996). The perceived impact of police work on police officers' spouses and families. Stress Medicine, 12(4), 239-246.

Heidensohn, F. M. (1985). Women and crime. New York: New York University.

_____. (1992). Women in Control?: The role of women in law enforcement. Oxford: Clarendon.

Martin, S. E. (1979). Policewomen and policewomen: Occupational role dilemmas and choices for female officers. Journal of Police Science and Administration, 7(3), 314-323.

Young, M. (1991). An Inside Job. Oxford: Clarendon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01

How to Cite

เพียรแก้ว ส. (2024). แนวทางพัฒนาเส้นทางอาชีพตำรวจหญิงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(1), 299–311. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/266426