ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร ระหว่างสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ ทองมีศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ปัจจัยการบริหารจัดการ, ประสิทธิผล, โรงเรียนเอกชน, สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการและประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการและประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน 3. สร้างสมการพยากรณ์ของปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน และ 4. ศึกษากลยุทธ์ของโรงเรียนเอกชนระหว่างสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู จำนวน 392 คน และผู้บริหาร จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และสมการถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกออก

ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารจัดการกับประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน พบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยรวมเท่ากับ .738 3. ปัจจัยการบริหารจัดการสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนได้ จำนวน 6 ด้าน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 88.67 และ 4. กลยุทธ์ในช่วงโควิด-19 ระบาด พบว่า โรงเรียนใช้ 6 มาตรการหลัก 6 มาตรการเสริม และ 7 มาตรการเข้มงวด

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2565). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://m.facebook.com/story.php?storyfbid

กิติยา บุญแซม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 32(113), 63–71.

จักรพงษ์ วงศ์สุวรรณ. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ไทยพีบีเอส. (2563). เยียวยา ครู รร.เอกชน รับผลกระทบ COVID-19. สืบค้น 15 สิงหาคม 2564. จาก https://news.thaipbs.or.th/content/291831

เบญจวรรณ เรืองศรี และคณะ. (2564). การจัดการเรียนการสอนในยุค New Normal Covid 19 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ On Site. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมรา, 11(2), 29-45.

ปิยะวรรณ คิดโสดา. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ผกาวรรณ ภูพื้น และสุรชัย สิกขาบัณฑิต. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนมัธยมในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีส เทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 9(3), 219-357.

วิกิพีเดีย. (2563). การระบาดทั่วของไวรัสโคโรน่า พ.ศ. 2562–2563. สืบค้น 15 สิงหาคม 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/การระบาดทั่วของไวรัส

โคโรน่า

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อรอุมา ไมยวงค์. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Engzell, P., et al. (2020). Learning loss due to school closures during the COVID-19 pandemic. Retrieved August 22, 2021, from www.pnas.org/content/118/17/e2022376118

Sandra, G. J. (2020). COVID-19 and primary and secondary education: the impact of the crisis and public policy implications for Latin America and the Caribbean. Retrieved August 22, 2021, from https://www.undp.org/latin

Yamane, T. (1967). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01