การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

ผู้แต่ง

  • ไพวรรณ ศรีสารคาม มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS), นโยบายสาธารณะ, การพัฒนาระบบขนส่ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน 2. ศึกษาผลกระทบของนโยบายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และ 3. ศึกษาผลของการใช้ระบบขนส่งมวลขนด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 29 คน ได้แก่ 1. ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน 2. พนักงานผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชนด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) จำนวน 5 คน และ 3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 19 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาระบบขนส่งมวลด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นนโยบายสาธารณะที่ภาครัฐกำหนดโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำมาปฏิบัติเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก สบาย และปลอดภัย 2. ผลกระทบของนโยบายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ด้านการปรับโครงสร้างองค์กรให้เล็กลงเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ด้านบุคลากรให้มีทักษะด้านเทคโนโลยี ด้านสมรรถภาพขององค์กรเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร และด้านความร่วมมือและการต่อด้านการเปลี่ยนแปลงโดยการสื่อสารประชาสัมพันธ์กับบุคลากรในองค์การอย่างทั่วถึง และ 3. ผลการใช้นโยบายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน พบว่าองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) มีความล้าหลังในเรื่องของความคล่องตัว การขาดการบูรณาการที่ดี การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยี และการแทรกแซงของผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย

References

กระทรวงคมนาคม. (2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

กิตติพงศ์ ชัยกิตติภรณ์. (2559). การพัฒนาการให้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.). วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 14(1), 115-155.

คาร์แทรค. (2564). GPS รถเมล์กับรูปแบบระบบขนส่งมวลชนในยุคสมัยใหม่. สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.cartrack.co.th/gps-รถเมล์

ชรินทร์ เกตุนาค. (2564). การส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ. สืบค้น 18 มีนาคม 2565, จาก http://www.wiki.ocsc.go.th/_media/ชรินทร์_เกตุนาค003.pdf

วีรวัฒน์ พิลากุล. (2562). แนวทางการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (2560). โครงการวิจัยและพัฒนาระบบบริหารจัดการเดินรถด้วยระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) สำหรับพัฒนาการเดินรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกเพื่อความปลอดภัย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมการขนส่งทางบกและกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน.

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. (2564). ภาวะอุตสาหกรรมและแนวโน้มในอนาคต. กรุงเทพฯ: องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ.

Kelly, W. & Zach, W. (2019). Soonish: Ten Emerging Technologies That’ll Improve and/or Ruin Everything. UK: Penguin Books.

Thai PBS. (2016). Cabinet resolution cancels BMTA as the only bus operator in Bangkok. Retrieved March 20, 2020, from https://shorturl.asia/t7wDU

THE CITIZEN PLUS. (2022). Listen to the voice of Thailand: The future of metropolitan buses. Retrieved December 20, 2022, from https://shorturl.asia/DZQPy

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01