การพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ระวี จูฑศฤงค์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภัทรา วยาจุต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, สมรรถนะครู, นอกระบบการศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยทั้งไทยและต่างประเทศ 38 เล่ม การจัดเวทีแบบมีส่วนร่วมเพื่อวิเคราะห์ ตรวจสอบและยืนยัน และคืนข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การเลือกแบบเจาะจงได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) อาจารย์จากมหาวิทยาลัย ตัวแทนนักวิชาการจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมจากภาคีเครือข่ายที่ทำงานกับครูและเด็กนอกระบบการศึกษาในพื้นที่ และตัวแทนครูนอกระบบการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา และประเด็นร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะในเวทีแบบมีส่วนร่วม เพื่อวิเคราะห์ ตรวจสอบและยืนยัน และคืนข้อมูล ที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษานอกระบบ

ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาพบว่าสมรรถนะหลักที่จำเป็นของครูนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 36 สมรรถนะ แบ่งออกเป็นสมรรถนะด้านความรู้ จำนวน 7 สมรรถนะ เช่น จิตวิทยาพัฒนาการเด็กนอกระบบการศึกษา กฎหมาย นโยบาย ศาสนา จารีตประเพณีที่เกี่ยวข้อง หลักการศึกษานอกระบบ การศึกษาทางเลือก สมรรถนะด้านทักษะ จำนวน 23 สมรรถนะ เช่น การออกแบบเส้นทางการเรียนรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้การโค้ช การรับมือกับปัญหา อดทนต่อความกดดัน การปรับตัว  และสมรรถนะด้านทัศนคติ/เจตคติ จำนวน 6 สมรรถนะ เช่น ความเชื่อในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ทุกคนสามารถพัฒนาได้ การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต จิตอาสา จิตสาธารณะ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ และคณะ. (2563). องค์ความรู้การศึกษาทางเลือกของสังคมไทยกับแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นิโคลัส เบอร์เนตต์. (2557). ชี้อุปสรรคการศึกษาไทยไม่หลุดอันดับบ๊วย. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.dailynews.co.th/education/236128

ลือชัย ศรีเงินยวง และคณะ. (2563). การวิเคราะห์นิยามความหมายครูนอกระบบ. กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา.

______. (2564). โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา.

วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2564). เอกสารคำสอนรายวิชา 22750295 การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2551). ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ย้ำนโยบายสวยหรู...ต้องปฏิบัติได้จริง. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565, จาก http://www.wichitlikhit.com/?p=566

วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2563). ครูนอกระบบการศึกษา. กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา.

วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา และคณะ. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา.

_____. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา.

สุนทร สุนันท์ชัย. (2543). วิวัฒนาการการศึกษานอกระบบของไทย การศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สุมาลี สังข์ศรี. (2556). การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Mattingly, M. A. (2010). Competencies for professional child & youth work practitioners. Retrieved December 2, 2022, from https://shorturl.asia/6Aif1

The International Organisation of La Francophonie. (2020). Core competencies for personnel working with children deprived of liberty. Retrieved December 2, 2022, from https://www.ibcr.org/wp-conte

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01

How to Cite

ปทุมเจริญวัฒนา ว., ปทุมเจริญวัฒนา ว., จูฑศฤงค์ ร., วยาจุต ภ., & พุฒเขียว ล. (2024). การพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(1), 271–286. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/264877