การพัฒนาระบบสหกรณ์เพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการทางการเงิน
คำสำคัญ:
สหกรณ์, ระบบการเงิน, การเข้าถึงบริการทางการเงินบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาความเหลื่อมล้ำทางการเงินด้านสภาพคล่องในระบบสหกรณ์ และ 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบสหกรณ์ที่จะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบสหกรณ์และยกระดับการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนระดับฐานราก โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการทบทวนวรรณกรรม รูปแบบฉากทัศน์ของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะสหกรณ์ รวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลจากตำรา บทความ งานวิจัย เอกสารราชการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสนทนา ข้อมูลจากการประชุมที่ผู้วิจัยได้เป็นกรรมการ คณะทำงาน หรือได้เข้าร่วมดำเนินการ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและสหกรณ์
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบสหกรณ์ คือ การก่อตั้งสหกรณ์แต่ละแห่งมาจากการรวมตัวของสมาชิกที่มีคุณลักษณะ อาชีพ รายได้ ที่เหมือนกัน ทำให้มีระดับได้รายได้ ความต้องการเงินทุนที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีสถาบันการเงินสหกรณ์รูปแบบใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางทางการเงินสหกรณ์ ซึ่งการวิจัยได้จัดทำข้อเสนอแนวคิดศูนย์กลางทางการเงินสหกรณ์ซึ่งมีองค์ประกอบ รูปแบบธุรกรรม การบริหารความเสี่ยง การกำกับธรรมภิบาลที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับหลักการสหกรณ์ ความเสี่ยงต่อระบบการเงิน และสอดคล้องกับสถาบันการเงินอื่น
References
จุฑาทิพย์ ภัทราวาท และคณะ. (2556). การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ทีเอื้อต่อการพึ่งตนเองและร่วมมือกัน. สืบค้น 1 มกราคม 2564, จาก http://www.cai.ku.ac.th/download/K-87EW45.pdf
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). คู่มือการตรวจสอบสถาบันการเงินแนวทางการตรวจสอบแบบเน้นธุรกรรมที่สำคัญของสถาบันการเงิน (Significant Activities Supervisory Framework). สืบค้น 1 มกราคม 2564, จากhttps://www.bot.or.th/Thai/
นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2558). ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ จรรยาสุภาพ และศิริลักษณ์ นามวงศ์. (2551). พัฒนาการการสหกรณ์ในประเทศไทย. สืบค้น 1 มกราคม 2564, จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php
ศิริวรรณ อัศววงศ์เสถียร และคณะ. (2560). ความเสี่ยงของระบบสหกรณ์ออมทรัพย์กับแนวทางการปฏิรูปการกำกับดูแล. สืบค้น 1 มกราคม 2564, จาก https://www.bot.or.th/MonetaryPolicy
ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์. (2559). การศึกษารูปแบบและแนวทางการเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงเครือข่ายทางการเงินสหกรณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานการวิเคราะห์ สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Michael, C. & Jensen. (1976). A THEORY OF THE FIRM: GOVERNANCE, RESIDUAL CLAIMS AND ORGANIZATIONAL FORMS. Journal of Financial Economics (JFE), 47(2), 387-397.
OECD. (2015). Principles of Corporate Governance. Retrieved May 27, 2021, from https://www.oecd.org/corporate/principles-corporate-governance/
Thomas, C. (2016). The continuing diversity of corporate governance: Theories of convergence and variety. Retrieved May 27, 2021, from www.ephemerajournal.org
World Bank. (2015). The Little Data Book on Financial Inclusion. Washington: World Bank.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น