การประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยข้อสอบมาตรฐานในการสอบปลายปี ปีการศึกษา 2561 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
การประเมินคุณภาพ, การศึกษาขั้นพื้นฐาน, ข้อสอบมาตรฐาน, ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานในการสอบปลายปีของผู้เรียน ปีการศึกษา 2561 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) รวม 432,967 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัย คือ ข้อสอบมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยาย เกณฑ์ปกติ และทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม
ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุดคือ ภาษาไทย นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ นักเรียนในสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุดทุกกลุ่มสาระ และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุดทุกกลุ่มสาระเช่นเดียวกัน เมื่อพิจารณาสาระและมาตรฐาน สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค 5.2 สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต มาตรฐาน ว 1.1 และสาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.1 ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ข้อสอบที่มีรูปแบบเชิงซ้อนมีคะแนนสูงสุดทั้ง 4 กลุ่มสาระ เกณฑ์กำหนดระดับคุณภาพของผู้เรียนด้วย T – score ในภาพรวม วิชาภาษาไทย ได้คะแนนเฉลี่ย T – score สูงที่สุด ส่วนคณิตศาสตร์ ได้คะแนนเฉลี่ย T – score ต่ำที่สุด และโดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มสาระมีคุณภาพข้อสอบในด้านความยาก และอำนาจจำแนก เหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์ และด้านความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (0.66-0.85)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557-2560. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2562, จาก https://www.niets.or.th/uploads/editor/files/Download%20ม3.pdf
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2011 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สมุทรปราการ: แอดวานซ์ พริ้นติ้ง เซอร์วิส จำกัด.
_________. (2559). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (2561). รายงานสารสนเทศผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2562, จากhttp://www.kksec.go.th/new/upload/1-ONET-sec25-m3.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). รายงานการวิจัยเปรียบเทียบการปฏิรูปการศึกษาเพื่อก้าวสู่สังคมฐานความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานศึกษาธิการ ภาค 10. (2562). ข้อมูลผลการวิเคราะห์ O-NET ปีการศึกษา 2554-2557. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2562, จาก http://www.reo6.moe.go.th/web/images/stories/1._O-Net__2554-2557.pdf
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
_______. (2560). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2559 บทสรุปและข้อเสนอเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
สุทธิพงษ์ พึ่งเพ็ง. (2562). คะแนน O-NET ย้อนหลัง. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2562, จาก https://gifmath.wordpress.com/general/
Admission Premium. (2562). ประกาศผลสอบ O-NET คะแนนเฉลี่ยย้อนหลัง ปีการศึกษา 2561. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2562, จากhttps://www.admissionpremium.com/content/4616
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น