การศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสูงวัยในเมืองมรดกโลกเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • นาตยา เกตุสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ญาณิศา เผื่อนเพาะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

รูปแบบกิจกรรม, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, นักท่องเที่ยวสูงวัย, เมืองมรดกโลก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนักท่องเที่ยวสูงวัย 2) ศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสูงวัยในเมืองมรดกโลกเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา และ3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสูงวัยในเมืองมรดกโลกเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา วิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรกลุ่มตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ F-test

ผลวิจัยพบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวเป็นลักษณะพักผ่อน ความถี่ 3 ครั้งต่อปี เน้นเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และศาสนาเป็นหลัก  รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  การเปรียบเทียบรูปแบบกิจกรรมจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบกิจกรรมจำแนกตามพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแตกต่างกันทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เน้นกิจกรรมเชิงทัวร์สุขภาพและแพทย์แผนไทย นวดแบบสปา การประชาสัมพันธ์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและการเดินทาง ความสะดวกสบายและความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว

References

กนกพร รอดเขียน. (2554). การศึกษาแรงจูงใจในการเลือกจุดหมายปลายทางและความของกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ชนบท จังหวัดนครสวรรค์. สืบค้น 23 มีนาคม 2565, จาก http://www.bec.nu.ac.th/bec-web/graduate/Tourism_ article54.ph.

ชเนตตี บุญรอด. (2557). ความต้องการของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครต่อธุรกิจนำเที่ยว (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ และคณะ. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4(2), 34 – 45.

ลัดณา ศรีอัมพรเอกกุล และธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การท่องเที่ยวคุณภาพเพื่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(1), 12–28.

วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ. (2562). สังคมผู้สูงอายุ: ปัจจัยการตลาดที่เปลี่ยนไป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 38-54.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมถนนคนเดินที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

วารีพร ชูศรี และวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ : ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 205–226.

สุชาดา ธโนภานุวัฒน์ และสมบัติ กาญจนกิจ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจนำเที่ยวของนักท่องเที่ยวภายในประเทศ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 13(1), 133–148.

อนุวัติ คูณแก้ว และคณะ. (2555). การพัฒนาการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยความร่วมมือของภาครัฐ องค์กรท้องถิ่นและชุมชนตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 14(1), 10–20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07

How to Cite

เกตุสมบูรณ์ น., & เผื่อนเพาะ ญ. . (2022). การศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสูงวัยในเมืองมรดกโลกเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(6), R287-R299. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/264408