สามทศวรรษหลังจากปฏิญญาซารามังกา: ความคืบหน้าของการนำนโยบายสู่ การปฏิบัติในสถานศึกษาแบบเรียนรวมในประเทศไทยตามกรอบโครงสร้างซีท (SEAT FRAMEWORK) ด้วยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน (META-ANALYSIS)
คำสำคัญ:
ปฏิญญาซารามังกา, สถานศึกษาแบบเรียนรวม, กรอบโครงสร้างซีท, การวิเคราะห์อภิมานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ประเมินความคืบหน้า 2. วิเคราะห์คุณลักษณะเบื้องต้นความคืบหน้า และ 3. สรุปองค์ความรู้ความคืบหน้าของการนำนโยบายสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาแบบเรียนรวม ตามโครงสร้างซีท วิธีวิจัยเชิงสำรวจ จากประชากร 6,429 เล่ม จากฐานข้อมูล Thai LIS, Thai Journal Index และฐานข้อมูลของห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่าง ๆ สุ่มแบบเจาะจงได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 95 เล่ม ใช้เกณฑ์การสุ่ม แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67- 1.00 มีค่า IOC รวมทั้งฉบับเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ค่าขนาดอิทธิพลความแปรปรวนทางเดียวตามแนวทางของ Glass และคณะ
ผลการวิจัยพบว่า 1. เป็นวิทยานิพนธ์ (ร้อยละ 97.90) เป็นงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยของภาครัฐ (ร้อยละ 63.15) สาขาวิชาการบริหารการศึกษาผลิตงานวิจัย (ร้อยละ 77.90) ใช้แนวคิดโครงสร้างซีท (SEAT Framework) (ร้อยละ 80.00) งานวิจัยมีคุณภาพดี (ร้อยละ34.00) ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัย ส่วนใหญ่มีคุณภาพระดับปานกลาง (ร้อยละ62.21) 2. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่า ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลต่อค่าขนาดอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ได้แก่ ตัวแปรขนาดกลุ่มตัวอย่าง 3. ผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาแบบเรียนรวม มี 4 รูปแบบ ได้แก่ SEAT Framework, School-Based Management, PAOR, และ PDCA
References
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2552). การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่ง กรุ๊ป.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2561). คู่มือวิทยานิพนธ์และการค้นคว้า อิสระ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2550, (2550, 27 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม124 ตอนที่ 61 ก. หน้า 8.
พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว. (2553). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนร่วมจังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นฤมล อุดมคุณ. (2552). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยด้านนวัตกรรมการจัดกระบวนการ เรียนรู้เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนนุกิจ.(2555). พจนานุกรมศัพท์การวิจัยและสถิติ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการ พิมพ์.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (2560). ข้อมูล สารสนเทศโรงเรียนเรียนรวม ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2561. สืบค้น 10ตุลาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/lV2Nn
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551, (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม125 ตอนที่ 28 ก. หน้า 2.
Cooper, H. (2017). Research synthesis and meta-analysis: A Step-by-step approach (5th edition). Los Angeles: SAGE publications.
Cooper, H. et al. (Eds.). (2019). The handbook of research synthesis and meta-analysis. New York: Russell Sage Foundation.
Glass, G. V. et al. (1981). Meta-analysis in social research. Beverly Hills, CA: Sage Publication.
UNESCO. 1994. The Salamanca Statement and Framework for Action on Special Needs Education, Retrieved September 10, 2022 from http://www.unesco.org/education/pdf/ SALAMA_E.PDF
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น