การพัฒนารูปแบบการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ: การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ
คำสำคัญ:
สิทธิ, สวัสดิการ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของผู้สูงอายุตามกฎหมายไทย 2) วิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายผู้สูงอายุระหว่างประเทศไทยไทย ประเทศสวีเดน ประเทศสหรัฐอเมริกา 3) พัฒนากฎหมายการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของผู้สูงอายุที่เหมาะสม และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลจากตำรา งานวิจัย บทความวิชาการและสรุปผล
ผลการวิจัยพบว่า 1) การคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของผู้สูงอายุไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ควรแก้ไขพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ให้เพิ่มการดูแลแก่ผู้สูงอายุพิการ 2) การวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของผู้สูงอายุระหว่างไทย สวีเดน และสหรัฐอเมริกา ให้นำเทคโนโลยีสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุ และให้เพิ่มค่าครองชีพผู้สูงอายุพิการ 3) เมื่อทำการพัฒนากฎหมายการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของผู้สูงอายุที่เหมาะสม ควรจะแก้ไขพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (1) การดูแลสุขภาพระยะยาวให้แยกการดูแลผู้สูงอายุปกติกับผู้สูงอายุพิการ (2) นำเทคโนโลยีสวัสดิการมาใช้แก่ผู้สูงอายุ (3) บริการการดูแลในบ้านที่พักอาศัยให้แก่ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตนเอง
References
กนิษฐา บุญธรรมเจริญ และศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2008). ระบบการดูแลระยะยาว: การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบาย. Rama Nurs Journal 14(3), 385-397.
เกษรา โพธิ์ยืน. (2562). สังคมผู้สูงอายุ: โอกาสของธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 201-209.
ณัฐภัทร พระทอง. (2563). ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์. (2562). โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
วิจิตร ระวิวงศ์. (2532). อนาคตของสวัสดิการสังคมในประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย) กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาสังคมวิทยา.
ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรณ์. (2563). สังคมสูงวัย ความท้าทายประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 7(1), 73-82.
อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็ง และภักดี โพธิ์สิงห์. (2560). การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17 (3), 236-243.
Frennert, S & Baudin, K. (2021). The concept of welfare technology in Swedish municipal eldercare. Disability and Rehabilitation Journal 43(9), 1220-1227.
Rättsdatabaser, R. (2001). Social Service Act of Sweden. Retrieved on March 2020 from https://www.ilo.org/dyn/natlex4.detail?p_isn=60673.
Sanna, K. (2021). The application and development of welfare technology in Swedish multiple care: a qualitative study of procurement practices among multiple actors. Stockholm: Institute of Technology.
Thomas, K S. & Mor, V. (2013). The Relationship between Older Americans Act Title III State Expenditures and Prevalence of Low-Care Nursing Home Residents. Health Services Research Journal. 48(3), 1215-1226.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น