ความเสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัว ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ชมนาถ แปลงมาลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • นุชนาถ มีนาสันติรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
  • อัจฉรา มีนาสันติรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความเสี่ยง, ความรุนแรง, ครอบครัว, มหาสารคาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง 2. ศึกษาระดับความเสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัว 3. ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะบุคคลกับสภาพปัญหาที่เป็นความเสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัว ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงต่ำและสถิติทดสอบความแตกต่าง ได้แก่ Independent t-test และ One-Way ANOVA 

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 90.50 ช่วงอายุ 51-59 ปี ร้อยละ 49.50 ใช้ชีวิตคู่ครั้งแรกช่วงอายุ 20-30 ปี ร้อยละ 59.00 สถานะสมรส ร้อยละ 92.38 ใช้คู่ชีวิต 1 ครั้ง ร้อยละ 92.38 ระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 60.95 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 80.00 รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 64.76 ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ ร้อยละ 73.33 มีและไม่มีทะเบียนสมรสจำนวนเท่า ๆ กัน 2. ระดับความเสี่ยงต่อความรุนแรงภาพรวมในครอบครัวมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.90 (0.58) ระดับน้อย 3. ลักษณะส่วนบุคคลมีระดับความเสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P Value< 0.05) ได้แก่ ช่วงอายุกับด้านเศรษฐกิจ ระดับการศึกษากับด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ สถานะภาพสมรสกับด้านสังคมและการมีทะเบียนสมรสกับด้านเศรษฐกิจ

References

กรมการปกครอง. (2562). จำนวนประชากรสมรสและหย่าร้าง. สืบค้น 20 เมษายน 2563, จาก www.dopa.go.th

จุฬาลักษณ์ ประจะเนย์ และคณะ. (2558). รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัว รูปแบบการ ดำเนินชีวิต รูปแบบความผูกพันภายในครอบครัวที่มีต่อพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และการติดเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 21(1), 175-191.

ภัสสร ลิมานนท์. (2544). เพศ สถานภาพสตรีกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภลักษณ์ จันทร์เจริญ. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในครอบครัว (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมประชาสงเคราะห์.

สุภาวดี น้อยมณี. (2558). การสำรวจสถานการณ์เสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัวในตำบลแม่ยางฮ่อ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565) องค์การบริหาร ส่วนตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สืบค้น 25 เมษยาน 2561, จาก https://shorturl.asia/ILT0k

อังคณา ช่วยค้ำชู. (2555). ความรุนแรงในครอบครัว : สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการช่วยเหลือ. วารสารธรรมศาสตร์, 31(3), 130-145.

Best, John W. (1977). Research in education (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Wade, M. V. (2006). Likert-type scale response anchors. Clemson International Institute for Tourism & Research Development. Recreation and Tourism Management: Clemson University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01