ปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ในการใช้บริการคลินิกเสริมความงาม
คำสำคัญ:
คลินิกเสริมความงาม, ความถี่, แบบจำลองโลจิตทวิ, ใช้บริการบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ในการใช้บริการคลินิกเสริมความงามในประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยใช้บริการคลินิกเสริมความงามในประเทศไทยจำนวน 400 คน มีแบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองโลจิตทวิ (Binary Logit Model) ผลการศึกษาด้วยแบบจำลองโลจิต
พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ในการใช้บริการคลินิกเสริมความงามที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 ได้แก่ อายุ จังหวัดที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ วิธีการเลือกใช้บริการ การหาข้อมูลก่อนเข้าใช้บริการ ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร ด้านกายภาพ และด้านกระบวนการ ผู้ประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงามจึงควรให้ความสนใจกับปัจจัยข้างต้น เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนา และวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มาใช้บริการได้อย่างตรงจุด และธุรกิจประสบความสำเร็จในระยะยาว
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). คลินิกเสริมความงามฟื้นหลังปลดล็อกเปิดบริการได้. สืบค้น 5 ตุลาคม 2564, จาก www.bangkokbiznews.com/health/899896
กฤตช์ติพัชร ศรีสุคนธรัตน์. (2564). ปัจจัยในการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามและคลินิกศัลยกรรมความงามของกลุ่มลูกค้าเพศชายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
จุฑาลักษณ์ กุประดิษฐ์. (2563). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(34), 111-124.
ชลชัย โพธิสุนทร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความถี่ในการใช้บริการระบบพร้อมเพย์ของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 14(1), 119–138.
เพิ่มทรัพย์ เวชสุกรรม. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุกลยุทธ์การตลาดสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าของผู้ประกอบการคลินิกเสริมความงามในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 364-380.
ภรนิพา จันทร์คำ. (2556). กลยุทธ์ตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกเวชกรรมดูแลผิวหน้าของประชาชน จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10(49), 97-104.
รุ่งนภา กิตติลาภ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการศึกษาและวิจัยพุทธศาสนา, 6(1), 60-74.
สุวรรณา โพธิอ่อน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ออเนสด็อคส์. (2562). ผลสำรวจพฤติกรรมการเข้าคลินิกเสริมความงามของกลุ่มตัวอย่าง 9,351 คน พ.ศ. 2562. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564, จาก www.hd.co.th/beauty-clinic-survey-2019
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd Edition). New York: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น