ทุนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของตลาดนัดชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
ทุนภูมิปัญญาและวัฒนธรรม, ตลาดนัดชุมชน, การท่องเที่ยว, จังหวัดชัยนาทบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทุนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของตลาดนัดชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท และประเมินศักยภาพตลาดนัดชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือผู้นำชุมชนและประชาชนในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดนัดชุมชน จำนวน 10 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการศึกษาวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า ทุนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของตลาดนัดชุมชนมีความหลากหลายและโดดเด่นทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอาหารพื้นถิ่นและอาหารตามฤดูกาลโดยมุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบภายในชุมชน วิธีการปรุงแบบดั้งเดิม และราคาไม่แพง
2) ด้านผลิตภัณฑ์หรือสินค้าพื้นถิ่นที่สะท้อนถึงการสร้างสรรค์จากวัสดุท้องถิ่นภาคกลาง 3) ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในการเป็นเส้นทางเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 4) ด้านความเชื่อและพิธีกรรมโดยได้รับอิทธิพลจากวัดซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของตลาดนัดชุมชน 5) ด้านรูปแบบร้านค้าพบ 3 รูปแบบ คือ ร้านค้าถาวร ร้านค้าชั่วคราว และร้านค้ากึ่งถาวร 6) ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีความเก่าแก่และสวยงาม ศักยภาพตลาดนัดชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวพบว่า มีศักยภาพสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สะท้อนอัตลักษณ์บนฐานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชนอันจะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวให้กลับมาเที่ยวซ้ำได้
References
จริยา สุพรรณ และคณะ. (2564). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเรื่องเล่าและกิจกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดลพบุรี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ.
ญาณภา บุญประกอบ และคณะ. (2560). อาหารพื้นถิ่นกับกลไกในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(ฉบับพิเศษ), 93-108.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาในการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ธานี กุลแพทย์. (2539). บทบาทของตลาดนัดจตุจักรที่มีต่อชุมชนกรุงเทพฯ และปริมณฑล พ.ศ. 2525-2537 (สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย และคณะ. (2564). โลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดลพบุรี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ.
ประทีป พืชทองหลาง และญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. (2559). ตลาดเก่า : ทุนวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 42(2), 100-124.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2555). การท่องเที่ยวไทยจากนโยบายสู่รากหญ้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ.
รัฐวิชญ์ ชัยศิริพานิช. (2562). การศึกษา 5 เสน่ห์วิถีชุมชนที่มีผลต่อความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยว ตลาดหัวปลี ศูนย์โอทอป (OTOP) คอมแพลกซ์ ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัตนพล ชื่นค้า และจริยา สุพรรณ. (2562). ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดชัยนาทกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ชุมชน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิชชุดา เขียวเกตุ. (2559). การจัดการตนเองของตลาดชุมชน กรณีศึกษาตลาดริมน้ำคลองแดนอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สัจจา ไกรศรรัตน์ และวรรักษ์ สุเฌอ. (2560). กระบวนการสร้างตราสินค้าให้กับตลาดชุมชนโบราณลุ่มน้ำสุพรรณบุรีในฐานะของแหล่งท่องเที่ยว. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 19(2), 35-48.
สำนักพัฒนาชุมชนอำเภอวัดสิงห์. (2564). เรียนรู้ สัมผัสวิถี ของดีชุมชน. สิงห์บุรี: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวัดสิงห์.
สุชานาถ พัฒนวงศ์งาม. (2560). ตลาดนัดชุมชนเป็นเศรษฐกิจฐานรากของจุดเริ่มต้นของกระบวนการโลจิสติกส์ : กรณีศึกษาตลาดนัดชุมชนบริเวณสนามกีฬาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(2), 197-212.
เสรี พงศ์พิศ. (2553). ร้อยคำที่ควรรู้ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พลังปัญญา.
Komppula, R. (2011). Customer value-based experience design in tourism University of Eastern Finland. Retrieved November 24, 2020, from https://matkailu.luc.filoader.aspx?id=e6f8bae0-ff62-4425-8a85
Pine, B. J. II. & Gilmore, J. H. (1998). Welcome to the Experience Economy. Harvard Business Review, 76(4), 96-105.
Sheth, J. N., et al. (1991). Why We Buy What We Buy: A Theory of Consumption Values. Journal of Business Research, 22(2),159-170.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น