การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของนิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์ แห่งคณะสงฆ์ไทย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย, มหาวิทยาลัยสงฆ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพทั่วไปการมีส่วนร่วมทางการเมือง2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3. ประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตเป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากนิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ มจร จำนวน 243 รูปหรือคน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และการถดถอยแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง การเรียนสอนมีการบูรณาการหลักพุทธธรรม มีนิสิตจากหลายหลายอาชีพ มีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนิสิต ได้แก่ สถาบันครอบครัว (X1) กลุ่มเพื่อนและชุมชน (x3) สื่อออนไลน์ (x4), และสถาบันการศึกษา (x2) สามารถอธิบายความผันแปรของการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Y) ได้ร้อยละ 45.60 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 และ 3. การประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์ แห่งคณะสงฆ์ไทย ดังนี้ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง มีวินัยและรับผิดชอบต่อสังคม ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางการเมือง ยกนักการเมืองที่เป็นแบบอย่าง เคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ตามกฎเกณฑ์ของสถาบันทางการเมือง และสนับสนุนนักการเมืองที่ดี
References
จารุวรรณ แก้วมะโน. (2564). ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย. สืบค้น 2 มกราคม 2564, จาก http://ppd.kpi.ac.th/index.php?name=content& main_id=12&page_id=49
ชโลบล ชัยนิคม. (2558). การกล่อมเกลาทางการเมือง และทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์(การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ชิตพล กาญจนกิจ. (2545). ความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเมืองท้องถิ่นไทย: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบล (รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทนา นันทวโรภาส. (2548). การสื่อสารทางการเมือง: ศึกษากรณีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไป ของพรรคไทยรักไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2564). สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย-ปีการศึกษา-2564-1. สืบค้น 11 ตุลาคม 2564, จาก http://reg.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2020/08
สมพร เฟื่องจันทร์. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสาร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 14(2), 211-215.
สิงห์คำ มณีจันสุข. (2561). ประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. วารสารวิจยวิชาการ, 1(2), 109-120.
สุทน ทองเล็ก. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ.2562 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น