การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหาร ของบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
คำสำคัญ:
การบูรณาการหลักพุทธธรรม, ประสิทธิภาพการบริหาร, บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารของบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารและเพื่อนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารของบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 391 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า 1. ประสิทธิภาพการบริหารของบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารของบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.11 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการองค์กร พบว่า กระบวนการบริหารจัดการ บรรยากาศองค์กร และหลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. รูปแบบพุทธวิธีการบริหารจัดการองค์กรคุณภาพของบริษัทมหาชน จำกัด คือ มีประสิทธิภาพการบริหารของบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ทั้งหมด 5 ด้าน และมีปัจจัยที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพการบริหารอีก คือ กระบวนการบริหารจัดการ บรรยากาศองค์กร และหลักอิทธิบาท 4
References
ชนะพงษ์ กล้ากสิกิจ. (2562). ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดกาแพงเพชร (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชุติมา สุทธิประภา. (2561). บรรยากาศองค์การและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลในเครือเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาล, 63(4), 25-33.
ทิรัศม์ชญา พิพัฒน์เพ็ญ และคณะ. (2557). การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติราชการของเทศบาลนครสงขลา (รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นิอร ศรีสุนทร. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ. (2562). แผนธุรกิจ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรม พุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัทธนัญพร พิพิธวรโภคิน. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมบัติ นามบุรี. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพุทธบูรณาการของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2564). แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562–2566. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.nbtc.go.th/getattachment/Information/ MasterPlan /37610 แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม-ฉบับที่-2.pdf.aspx.
สิงห์คำ มณีจันสุข. (2563). การบริหารจัดการสวัสดิการสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อรวิภา จรูญจารุวัฒนา. (2559). การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 กับการเรียนการสอนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(2) : 183-194.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rded). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น