การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริม ความไว้วางใจครูในการบริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา แสนสินธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุชาดา นันทะไชย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์, ความไว้วางใจครู, การบริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ระบุและจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความไว้วางใจครูในการบริหารสถานศึกษา 2. วิเคราะห์สาเหตุของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความไว้วางใจครูในการบริหารสถานศึกษา และ 3. พัฒนาแนวทางการส่งเสริมความไว้วางใจครูในการบริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 การดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) การระบุและจัดลำดับความต้องการจำเป็น 2) การวิเคราะห์สาเหตุ
3) การวิเคราะห์หาทางเลือก เก็บข้อมูลโดยการสำรวจด้วยแบบประเมินความต้องการจำเป็น แบบตอบสนองเดี่ยว การสนทนากลุ่ม และกระบวนการสมมตินัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน PNImodified แผนภูมิก้างปลา และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านความยุติธรรม (PNImodified = .336) 2. สาเหตุของความต้องการจำเป็นในข้อที่ 1 คือ ผู้บริหารสถานศึกษาไว้วางใจครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า และ 3. แนวทางในการส่งเสริมความไว้วางใจครูในการบริหารสถานศึกษา คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษารับฟังครูด้วยใจที่เปิดกว้างและเป็นกลาง 2) ผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติต่อครูด้วยความเคารพในความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล 3) ผู้บริหารสถานศึกษาแสดงความจริงใจและเปิดเผยในการทำงานร่วมกับครู และ 4) ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมขวัญกำลังใจ สวัสดิการและกำกับติดตามการดำเนินงานของครูไม่ทอดทิ้งให้ครูแก้ปัญหาเอง

References

ณัฎฐรินทร์ บุญเรือนยา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลกับความไว้วางใจของครูที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาพัฒนศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 (การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นวลปรางค์ ภาคสาร. (2559). อิทธิพลของบรรยากาศองค์กรและความยุติธรรมขององค์กรที่มีต่อประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 13(1), 43-64.

ปัทมา พงษ์พัฒน์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชาและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) สำนักงาน ใหญ่ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิเชษฐ์ ผุงเพิ่มตระกูล. (2554). ความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชา ความไว้วางใจในองค์การ ความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันในองค์การของบุคลากรทางการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมลรัตน์ วงศ์ภูษาประกร. (2564). อิทธิพลของความยุติธรรมในองค์การและความไว้วางใจในองค์การที่มีต่อความผูกพันในองค์การขององค์การภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรินทร รองกลัด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจในองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องดื่มและอาหารแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศธ.360 องศา. (2564). คำแถลงนโยบายการจัดการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้น 24 ตุลาคม 2564, จาก https://shorturl.asia/v3oFG

Bligh, M. C. (2017). Leadership and trust. In J. Marques, S. Dhiman (eds.), Leadership Today. (pp. 21-42). Switzerland: Springer International Publishing.

Covey. (2021). Go fast, go with trust. Retrieved January 10, 2022, from https://shorturl.asia/9fnW4

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(30), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite

แสนสินธ์ ส., สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง ว., & นันทะไชย ส. (2024). การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริม ความไว้วางใจครูในการบริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(2), 319–335. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/260592