หลวงพ่อแดง(ประยูร นนฺทิโย) กับการพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์ในลุ่มน้ำแม่กลอง

ผู้แต่ง

  • กำพล ศรีโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นรพัชร เสาธงทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • การัณย์ พรหมแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลวงพ่อแดง นนฺทิโย, ประวัติศาสตร์, ลุ่มน้ำแม่กลอง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา หลวงพ่อแดง (ประยูร นนฺทิโย)กับการพัฒนา เมืองประวัติศาสตร์ในลุ่มน้ำแม่กลอง วิเคราะห์ถอดบทเรียนของพระครูพิศิษฏ์ประชานาถ, ดร. (ประยูร นนฺทิโย) ทางสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องการสื่อสารแบบมวลชนวงกว้าง พระสงฆ์ที่มีจิตอาสาได้ระดมความคิด สร้างเครือข่ายภาคประชาชนปลูกฝังจริยธรรม และช่วยกันขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนภายใต้ระบบความสัมพันธ์ที่โยงใยกันของธรรมชาติที่ซับซ้อน โดยมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่สามารถดำรงตนอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกันได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนกันไปกับวิถีทางแห่งธรรมชาติ ประยุกต์คำสอนทางพุทธศาสนา ตามหลักการเรื่องธาตุทั้งสี่อันประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ มาเป็นแนวคิดและปฏิบัติ สู่กิจกรรมโครงการต่อชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ให้กับศาสนิกชนชาวพุทธในเขตชุมชนลุ่มน้ำแม่กลอง รวมทั้งนำคำสอนในพุทธศาสนามาใช้กับการพัฒนาคนพัฒนาชุมชน และสังคมรอบข้างให้ได้รับประโยชน์ตามกรอบแห่งชุมชนต้นแบบวิถีพุทธ

References

ขำ บุนนาค. (2547). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชการที่ 3 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

เดลินิวส์. (2565). ดร.หลวงพ่อแดง เจ้าอาวาสวัดอินทาราม มอบเครื่องสีข้าวชุมชนให้อำเภออัมพวา ส่งมอบต่อเกษตรกรผู้ทำนาข้าวในพื้นที่สู้ความยากจน. สืบค้น 19 เมษายน 2565, จาก https://www.dailynews.co.th/news/831385/

นรพัชร เสาธงทอง. (2559). แนวคิดทางการเมืองหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ. วารสารคุณภาพชีวิต และกฎหมาย, 12(1), 205-214.

นฤมล ธีรวัฒน์ (2539). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชการที่ 1 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ฉบับตัวเขียน). กรุงเทพฯ: อมรินทร์วิชาการ.

พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ (ประยูร นนฺทิโย). (2563). โครงการธนาคารโคกระบือและธนาคารน้ำใต้ดินของหลวงพ่อแดง (ประยูร นนฺทิโย). พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเอกลักษณ์ อชิตโต และคณะ. (2564). เครือข่ายพระสงฆ์สาธารณะสงเคราะห์ของหลวงพ่อแดง นนฺทิโย: กับการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซ้อน จังหวัดสุโขทัย. วารสารวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(1), 88-101.

มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์. (2548). จดหมายเหตุลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ศิษย์วัดอินทาราม. (2559). ตะกรุดจันทร์เพ็ญ. สืบค้น 9 เมษายน 2565, จาก https://m.facebook.com/nantiyo.99/photos/a

สมาคมมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทย. (2550). สมุดราชบุรี. พ.ศ. 2468 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคมมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทย.

เสกสรร มนทิราภา และคณะ. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมาภิบาลเพื่อบริหารองค์กรบริษัทมหาชน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 5(2), 36-51.

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. (2563). ดร.หลวงพ่อแดง เกจิดังลุ่มน้ำแม่กลอง มอบกังหันปั่นน้ำโซล่า เซลล์แก้น้ำคลองประดู่เน่า.สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2565, จาก https://www.banmuang.co.th/news/education/178175

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01

How to Cite

ศรีโท ก., กิตฺติโสภโณ พ., เสาธงทอง น., & พรหมแก้ว ก. (2024). หลวงพ่อแดง(ประยูร นนฺทิโย) กับการพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์ในลุ่มน้ำแม่กลอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(1), 377–392. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/260560