การพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี แผนกวิชาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของวิทยาลัยการอาชีพ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • ทองสุข พามี มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ฉลอง ชาตรูประชีวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สถิรพร เชาวน์ชัย มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

อาชีวศึกษา, ระบบทวิภาคี, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. พัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี แผนกวิชาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของวิทยาลัยการอาชีพ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2. ถอดบทเรียนปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในการพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี แผนกวิชาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของวิทยาลัยการอาชีพ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินงาน และขั้นการถอดบทเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้วิจัยผู้ร่วมวิจัย นักพัฒนา สถานประกอบการ และชุมชน จำนวน 38 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ผ่าน 6 กิจกรรม ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การพัฒนาความเป็นเลิศในสาขางาน การพัฒนาทักษะที่เอื้อในการทำงาน การพัฒนาสมรรถนะภาษาต่างประเทศ และเทคโนโลยีที่จำเป็น การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม รวมไปถึง การส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการถอดบทเรียน พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาการจัดการศึกษา ได้แก่ ทัศนคติของผู้บริหารสถานศึกษา การมอบนโยบายการจัดการศึกษาที่ชัดเจน ครูผู้สอนมีความเอาใจใส่มีการนิเทศ ติดตาม และ ร่วมกันแก้ไขปัญหากับสถานประกอบการ ผู้เรียน ผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือและไว้วางใจในการจัดการเรียนการสอน สถานประกอบการให้ความร่วมมือในด้านบุคลากร วัสดุ เทคโนโลยี และการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะที่จำเป็นในการทำงาน สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน มีสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีอย่างต่อเนื่อง

References

เกียรติสุดา กาศเกษม. (2557). การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นของโรงเรียนเทศบาลด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เดชวิชัย พิมพ์โคตร. (2562). กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาอาชีวศึกษาของภาครัฐ (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ และคณะ. (2562). การอาชีวศึกษา: ทวิภาคี และทวิศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(6), 244-263.

มนตรี คงเจริญ. (2559). การส่งเสริมนิสัยการรักการอ่านในโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(2), 137-150.

เรวัช ศรีแสงอ่อน. (2564). การบริหารการจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block Couse) วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร, 4(1), 133-150.

วรินทร พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2564). การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการศึกษา 4.0 สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(1), 55-72.

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี. (2557). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทจามจุรีโปรดักส์ จำกัด.

______. (2560). รายงานการผลการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ:คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

______. (2561). คู่มือปฏิบัติงานการดำเนินงานสถานศึกษาต้นแบบทวิภาคี สานพลังประชารัฐ Excellent Model School. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทจามจุรีโปรดักส์ จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite

พามี ท., ชาตรูประชีวิน ฉ., & เชาวน์ชัย ส. (2024). การพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี แผนกวิชาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของวิทยาลัยการอาชีพ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(2), 164–178. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/260449