ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหาร กับประสิทธิภาพการสร้างเครือข่าย “บวร” อย่างยั่งยืน ของโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี

ผู้แต่ง

  • พัชรธารา สุขศิลป์วิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุชาดา นันทะไชย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พร้อมพิไล บัวสุวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, ภาวะผู้นำ, ซอฟท์สกิล, ประสิทธิภาพ, เครือข่ายบวร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหาร โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี 2) ระดับประสิทธิภาพการสร้างเครือข่าย “บวร” อย่างยั่งยืนของโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหาร กับประสิทธิภาพการสร้างเครือข่าย บวร อย่างยั่งยืน ประชากรที่เป็นผู้ให้ข้อมูลคือ บุคลากรในเครือข่าย “บวร” ของโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี ประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 138 คน พระสงฆ์จำนวน 9 รูป และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สร้างโดยผู้วิจัย มีค่าความเชื่อมั่น .982 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหาร โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิภาพการสร้างเครือข่าย “บวร” อย่างยั่งยืน ของโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหาร กับประสิทธิภาพการสร้างเครือข่าย บวร อย่างยั่งยืน ของโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี ในภาพรวม มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูงทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.845, p< .01)

References

กุลทัต หงส์ชยางกูล. (2562). การสร้างและการบริหารเครือข่าย. สืบค้น16 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://hsmi2.psu.ac.th/upload/forum/paper_1598_5f69ce9304e915f6 9ce.pdf.

ชโลทร โชติกีรติเวช. (2560). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะ Soft Skills เพื่อการจัดการเรียนรู้ของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารวิจัย มข (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 44-52.

ธนุเดช ธานี. (2559). การพัฒนาศักยภาพผู้นำรุ่นใหม่ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้บริหาร. สืบค้น 5 มีนาคม 2565, จาก https://www.peopledevelop.net/17018457/.

วาริษา ประเสริฐทรง. (2557). ทักษะภาวะผู้นำด้าน SOFT SKILLS ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วาลิกา อัครนิตย์. (2562). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). Soft Skills to Master. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุธิดา กาญจนกันติกุล (2564). เทคนิคการสื่อสารของผู้นำในภาวะวิกฤต. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://forbesthailand.com/commentaries/insights.

อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ. (2564). การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 211-224.

อริยา พรหมสุภา. (2559). “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน องค์การแห่งการเรียนรู้ในชุมชน: ชุมชนโป่งคำ จังหวัดน่าน และชุมชนแจ่มหลวง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07

How to Cite

สุขศิลป์วิทยา พ. ., นันทะไชย ส. ., & บัวสุวรรณ พ. . (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาวะผู้นำด้านซอฟท์สกิลของผู้บริหาร กับประสิทธิภาพการสร้างเครือข่าย “บวร” อย่างยั่งยืน ของโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(6), R223-R235. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/260167