แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความยั่งยืนของชุมชนบางกะเจ้า
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, คุณภาพชีวิต, ชุมชนบางกะเจ้าบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชนพื้นที่บางกะเจ้า 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความยั่งยืนของชุมชนบางกะเจ้าเพื่อให้เกิดความยั่งยืน 3. หาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดเพื่อความยั่งยืนของชุมชนบางกะเจ้า ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ปลายเปิดในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ สังเกตแบบมีส่วนร่วม และทำการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 หน่วยงานภาครัฐในการกำหนดนโยบาย ออกกฎหมาย กำกับดูแลมูลนิธิหรือรัฐวิสาหกิจเพื่อสังคม กลุ่มที่ 2 ตัวแทนจากมูลนิธิหรือวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการ และกลุ่มที่ 3 นักวิชาการทางด้านการบริหารจัดการองค์กร
ผลการวิจัยพบว่าหน่วยงานภาครัฐ มูลนิธิหรือวิสาหกิจเพื่อสังคมและชุมชนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพของพื้นที่บางกะเจ้า ที่มีการสร้างแนวทางการปฏิบัติที่เชื่อถือได้ มีความโปร่งใส มีคุณธรรม ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น เคารพสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม มีนวัตกรรมและเผยแพร่นวัตกรรมซึ่งได้จากการดําเนินงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคุมการดำเนินงานขององค์กรอย่างมีระเบียบแบบแผนและเป็นระบบ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชนประสบความสำเร็จ
References
เดลินิวส์. (2561). เดลินิวส์วาไรตี้ : รักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์คุ้งบางกะเจ้า. สืบค้น 21 กันยายน 2561, จาก www.forest.go.th/images/stories/file/.pdf
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). คณะทำงานโครงการคุ้งบางกะเจ้า ร่วมสานพลังพัฒนาเพื่อความยั่งยืน. สืบค้น 21 กันยายน 2561, จาก https://mgronline.com9650000016982
รุจิราภรณ์ ยุกตานนท์. (2562). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบ ณ สถานที่เกิดเหตุ กรณีศึกษา : มูลนิธิสยามนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: มูลนิธิสยามนนทบุรี.
วิศาล สายเพชร. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและความสุขของอาสาสมัคร :กรณีศึกษามูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย. วารสารพุทธจิตวิทยา, 5(1), 1-13.
Colaizi P. (1978). Psychological research as the Phenomenologist views it. In Existential –Phenomenological Alternatives for Psychology (Valle R. & King M. eds), Oxford University Press, London.
Edward, et al. (1978). The Policy Predicament: Making and Implementation Public Policy. San Francisco: W.H. Freeman and Company.
Ferrans, C. & Powers, M. (1992). Psychometric Assessment of the Quality-of-Life Index. Research in Nursing & Health, 15(1), 29-38.
Graham, M. (2020). The Fairwork Foundation: Strategies for Improving Platform Work. Social Science Open Access Repository. Retrieved March 20, 2020, from https://www.ssoar.info/ssoar/handle/document/62590
Markley. (1975). Correlation proton magnetic resonance studies at 250 MHz of bovine pancreatic rebonuclease. I. Reinvestigation of the histidine peak assignment. Biochemistry, 14, 3546-3553.
Moos, R. H., & Moos, R. S. (1986). Family environment scale manual (2nd ed.). Palo Alto, CA: Consulting Psychologists.
Schermerhorn, J.R., et al. (2000). Organizational behavior. New York: John Willey & Son.
Terry, G. (1960). The principles of management. Homewood, IL: Richard Irwin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น