การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์ในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบอไจล์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ผู้แต่ง

  • วีระพันธ์ กาวิชัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุชาดา นันทะไชย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มีชัย ออสุวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำแบบอไจล์, การประเมินความต้องการจำเป็น, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ระบุและจัดลำดับความต้องการจำเป็นการมีภาวะผู้นำแบบอไจล์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2. วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำแบบอไจล์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3. เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบอไจล์ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัด สพม.กท 1 จำนวน 307 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความต้องการจำเป็นและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบประเมินความต้องการจำเป็น วิเคราะห์โดยใช้วิธี PNImodified ร่วมกับการวิเคราะห์เมทริกซ์ และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการวิเคราะห์แผนภูมิก้างปลา และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องได้รับการพัฒนาเรื่อง การมีความคิดสร้างสรรค์ และการลงมือปฏิบัติงานร่วมกับครู 2. สาเหตุที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากขาดความรู้ ขาดทักษะการบริหาร และขาดประสบการณ์ในการทำงาน ส่วนการลงมือปฏิบัติงานร่วมกับครู เนื่องจากขาดการบริหารแบบมีส่วนร่วม และขาดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาด้านความคิดที่สร้างสรรค์ คือ ส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษาเข้าร่วมการอบรม และพัฒนาตนเอง ส่วนด้านการลงมือปฏิบัติงานร่วมกับครู คือ เปิดโอกาสให้มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ในองค์กร จัดกิจกรรมหรือโครงการให้บุคลากรหมุนเวียนแบ่งกันทำหน้าที่ต่าง ๆ

References

ฉัตรวิมล เข็มพันธ์. (2560). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดนครสวรรค์. วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 1758-1768.

เฉลิมพล เอกพันธุ์. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดมุกดาหาร. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(34), 157-165.

ดรุณี รัตนสุนทร. (2560). วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อการบริหารการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเชียงราย. วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 365-378.

ตวงศักดิ์ นิภาพันธ์. (2564). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบอไจล์สำหรับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มนัญชยา ควรรำพึง. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(3), 17-32.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2551). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ปัณณรัชต์.

ศศิมา สุขสว่าง. (2560). VUCA World ความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่. สืบค้น 1 ตุลาคม 2564, จาก https://www.sasimasuk.com/16768188/vuca-world

สุบรรณ ลาสา. (2560). แนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(2), 120-132.

สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ. (2563). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 245-259.

สุภาพร โทบุตร. (2559). ปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐในจังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Trend and Technology. (2562). การทำงานแบบ Agile แนวคิดในการทำงานขององค์กรยุคใหม่. สืบค้น 10 ตุลาคม 2564, จาก https://www.tnt.co.th/news

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15