การพัฒนาระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบบริหาร, โรงเรียนขนาดเล็ก, แนวคิดกิจการเพื่อสังคมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 175 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น 2. สร้างระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 6 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามประเมินระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ลำดับความต้องการจำเป็น PNI Modified
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ประกอบด้วย 1) ปัจจัย 2) กระบวนการ ประกอบด้วย ด้านเป้าหมายหลักเพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคม ด้านธรรมาภิบาลในการเป็นผู้ประกอบการและการบริหารจัดการ ด้านการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ด้านการนำผลกำไรไปสร้างประโยชน์แก่ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม และด้านการประสานความร่วมมือ 3) ผลผลิต ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
ฐาปณีย์ โลพันดุง. (2560). การพัฒนาระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนัตถ์พร โคจรานนท์. (2562). การพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาสู่องค์การสมรรถนะสูง (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นริศ ภูอารม. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับเครือข่ายโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันเช้นจ์ฟิวชั่น. (2553). การสร้างเสริมองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันเช้นจ์ฟิวชั่น.
สันติ หัดที. (2562). การพัฒนาระบบการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. อุดรธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ. (2553). แผนแม่บทสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม พ.ศ. 2553-2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ.
สุวรรณลักษณ์ อุดมศักดิ์. (2556). การพัฒนาพฤติกรมทางสัดมของเด็กปฐมวัยด้านความมีระเบียบวินัยและจิต สาธารณะ ที่จัดประสบการณ์โดยใช้นิทานคุณธรรม สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 2(1), 11-23.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607–610.
Social Enterprise Academy. (2014). A guide to social enterprise in education. Retrieved March 20, 2020, from www.theacademy-ssea.org/schools
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น